มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
แม่โจ้ – ชุมพร จับมือ สถาบันอาชีวศึกษาและภาคีเครือข่าย สร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัยและพัฒนาบุคลากร
      วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร กับสถาบันการอาชีวศึกษาและภาคีเครือข่าย จาก 4 จังหวัดในภาคใต้ คือ นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และ ภูเก็ต จำนวน 6 หน่วยงาน ดังนี้       1.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 โดย ว่าที่ร้อยตรีกิตติ บรรณโศภิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 เป็นแทนผู้ลงนาม       2.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 โดย นายธิติวัชร์ ไพศาลกิจสงวน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนายุทธศาสตร์และความร่วมมืออาชีวศึกษา เป็นผู้แทนลงนาม      3.สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ โดย นายวิศวะ คงแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ เป็นผู้แทนลงนาม      4.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 โดย ดร.สิทธิพงศ์ นกแอนหมาน ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 เป็นผู้แทนลงนาม      5.วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการหาดใหญ่ โดย ดร.โสภณ สาระวิโรจน์ ผู้รับใบอนุญาต เป็นผู้แทนลงนาม       6.สำนักงานเทศบาลเมืองเบตง โดย นายสกุล เล็งลัคน์กุล นายกเทศมนตรีเมืองเบตง เป็นผู้แทนลงนาม      อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวว่า “บันทึกข้อตกลงฉบับนี้เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร โดยพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันให้มีคุณวุฒิตามที่กำหนด และเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาในการขยายโอกาสการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนเพิ่มความสามารถด้านการทำวิจัย ในการพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมได้”     พร้อมกันนี้ ยังได้หารือความร่วมมือ ในการเพิ่มเติมการทำ MOA ร่วมกับวิทยาลัยในสังกัดของสถาบันการอาชีวศึกษา เพื่อผลักดันความร่วมมือให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยส่งนักศึกษามาเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตลอดจนความร่วมมือทางด้านวิชาการอื่น ๆ ต่อไป
3 พฤษภาคม 2567     |      256
ผศ.พาวิน มะโนชัย พบปะบุคลากร มอบนโยบายและแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
       วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบปะบุคลากร มอบนโยบายและแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     ซึ่งในการพบปะบุคลากรในครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี ได้พูดคุยแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งรับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากรและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์       พร้อมกันนี้ ผู้บริหารและบุคลากร ได้ร่วม “รดน้ำดำหัว” แสดงความเคารพต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี
7 พฤษภาคม 2567     |      716
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กิจกรรมปล่อยปลาคาร์ฟ เพื่อพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปลาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ณ บ่อน้ำ 35 ไร่ ฟาร์มมหาวิทยาลัย
      วันที่ 30 เมษายน 2567 เวลา 17.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบายแผนและประกันคุณภาพ นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นายกฤษฎิ์ พลไทย นักวิชาการประมง นางสาวเกศณีย์ แท่นนิล ประมงจังหวัดชุมพร ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกิจกรรมปล่อยปลาคาร์ฟ เพื่อพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปลาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ณ บ่อน้ำ 35 ไร่ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนพันธุ์ปลาคาร์ฟ จำนวน 1,500 ตัว จากนายสุชาติ จุลอดุง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร โดยนายกฤษฎิ์ พลไทย นักวิชาการประมง นักวิชาการประมง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
2 พฤษภาคม 2567     |      709
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมพิธีสวดพระปริตรและเจริญพระพุทธมนต์ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโซติฯ
      วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 17.00น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ นักวิชาการศึกษา เข้าร่วมพิธีสวดพระปริตรและเจริญพระพุทธมนต์ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ วัดสวนสมบูรณ์ หมู่ที่ ๗ ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
30 เมษายน 2567     |      161
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมรับรองผลการพิจารณาการอนุญาตหรือเพิกถอนตราหรือสัญลักษณ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ณ เกาะพิทักษ์ ศาลากลาง จังหวัดชุมพร
      วันที่ 29 เมษายน 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในฐานะ คณะกรรมการอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI (Geographical Indication) จังหวัดชุมพร ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI จังหวัดชุมพร สินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จำนวน 4 รายการ ได้แก่ กล้วยเล็บมือนางชุมพร กาแฟเขาทะลุ กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร และกล้วยหอมทองละแม โดยมีนายวรัตม์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานคณะกรรมการ และมีหัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนส่วนราชการเข้าร่วมประชุมฯ เพื่อพิจารณาและรับรองผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กล้วยเล็บมือนางชุมพร กาแฟเขาทะลุ กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร และกล้วยหอมทองละแม จำนวน 15 ราย ณ ห้องประชุมเกาะพิทักษ์ ศาลากลางจังหวัดชุมพร ชั้น 3
30 เมษายน 2567     |      330
ขอแสดงความยินดีกับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ประเภทอำนวยการ
      ตามมติคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 จำนวน 4 ราย ดังนี้ ระดับหัวหน้างาน/หัวหน้าฝ่าย : สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร       1) นางสาวจิรภรณ์ ใจอ่อน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานบริหารและธุรการ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       2) นางสาวศิริมาศ เจี้ยมกลิ่น ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานคลังและพัสดุ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       3) นายณรงค์ โยธิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       4) นายชัยวิชิต เพชรศิลา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป      กองบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 เมษายน 2567     |      325
คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ให้การต้อนรับและที่ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
      คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรให้การต้อนรับและที่ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่นักศึกษา (หลักสูตร 4 ปี รหัส 65 และ หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง รหัส 66 สาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ระหว่างวันที่ 22 – 30 เมษายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร      วันจันทร์ ที่ 22 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธนา สว่างอารมณ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักศึกษาในกิจกรรม : ธนาคารปูม้า การทำเค้กปูม้า การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น และการเพาะแพลงก์ตอนพืชสำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อน      วันอังคาร ที่ 23 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธนา สว่างอารมณ์ และนายวิสูตร บุนนาค ผู้ใหญ่บ้านผู้ดูแล ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและท่องเที่ยววิถีชุมชนชาวประมงบ้านกลางอ่าว ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักศึกษาในกิจกรรม : ภูมิปัญญาชาวบ้านทางการประมง (สถานที่ :  ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและท่องเที่ยววิถีชุมชนชาวประมงบ้านกลางอ่าว ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร      วันพุธ ที่ 24 เมษายน 2567 อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น  ถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักศึกษาในกิจกรรม : ระบบนิเวศน์ชายฝั่ง (สถานที่ : หาดหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร)      วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ที่ 25-26  เมษายน อาจารย์ ดร.ณัชพัฒน์ สุขใส ถ่ายทอองค์ความรู้แก่นักศึกษาในกิจกรรม การทำสปาทราย  (สถานที่ : หาดหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร) การสตาฟปูม้า และการถักอวนเพื่อการประมง (สถานที่ : อาคารเรียนรวมแม่โจ้ 80 ปี)
29 เมษายน 2567     |      52
โค้งสุดท้าย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน ต่อเนื่อง 2 ปี เปิดรับสมัครออนไลน์ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ)        1.สาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง : รับผู้ที่จบประเภทวิชาประมง เกษตรกรรม สัตวศาสตร์ สัตวรักษ์ เท่านั้น        2.สาขาวิชาพืชศาสตร์ : รับผู้ที่จบประเภทวิชาเกษตรกรรม พืชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เท่านั้นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ หรือเรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์)        1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ : รับผู้ที่จบประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ คหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เรียนออนไลน์ เสาร์-อาทิตย์)        1.สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ : รับผู้ที่จบประเภทวิชาบริหาร การจัดการ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สมัครออนไลน์ : www.admissions.mju.ac.th สอบถามเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา : 080 535 9909
24 เมษายน 2567     |      216
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
      วันที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดีฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการฝึกปฏิบัติและเสริมประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ระหว่างวันที่ 22-30 เมษายน 2567      ทั้งนี้ กิจกรรมฝึกปฏิบัติและเสริมประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ดังกล่าว มีนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี รหัส 65 และหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง รหัส 66 สาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ เข้าร่วม จำนวน 90 คน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และอาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ เข้าร่วมตลอดจนควบคุมดูแลการดำเนินกิจกรรมในโครงการ      อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว นักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง อาทิธนาคารปูม้า การทำเค้กปูม้า การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านทางการประมง การเลี้ยงหอยแมลงภู่ เรียนรู้ระบบนิเวศน์ชายฝั่ง สปาทราย สตาฟสัตว์น้ำ เรียนรู้ระบบการเลี้ยงกุ้ง ระบบการอนุบาล การเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย และการเพาะเลี้ยงเพรียงทราย จากคณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปราชญ์ประมงพื้นบ้าน นักวิชาการจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน (ฟาร์มทดลองละแม) และนักวิชาการจากเพียงทรายฟาร์ม
23 เมษายน 2567     |      572
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)  4 สาขาวิชา สมัครออนไลน์ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี) เรียนปกติ   1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง       •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า       •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00       •ประเภทวิชาประมง เกษตรกรรม สัตวศาสตร์ สัตวรักษ์ เท่านั้น   2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์     •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า     •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00     •ประเภทวิชาเกษตรกรรม พืชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เท่านั้นหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี ) เรียนปกติ /เรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์    1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เรียนปกติ หรือเรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ คหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    2.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เรียนออนไลน์ เสาร์-อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาบริหาร การจัดการ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    สมัครออนไลน์ : www.admissions.mju.ac.th    สอบถามเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา : 080 535 9909
19 เมษายน 2567     |      831
สวัสดีปีใหม่ไทย ๒๕๖๗
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย และเล่นน้ำสงกรานต์ตามประเพณี      สงกรานต์สุขใจ “ดื่มไม่ขับ ง่วงจอดพัก เล่นสาดน้ำด้วยความระวัง”      ประวัติวันสงกรานต์ หรือ วันมหาสงกรานต์ ได้รับอิทธิพลมาจาก “เทศกาลโฮลี” ของประเทศอินเดีย แต่วันสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนจากการสาดสี เป็นการสาดน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนในเดือนเมษายน และในอีกแง่หนึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ดังนั้น การเล่นสาดน้ำและประแป้งกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะไม่ถือโทษโกรธกัน       คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า “การเคลื่อนย้าย” โดยเชื่อว่าในวันสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนย้ายของจักรราศี อีกนัยหนึ่งก็คือการเคลื่อนสู่ปีใหม่ คนไทยจึงยึดถือวันสงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย” มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ การละเล่นสงกรานต์ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว รวมถึงบางพื้นที่ของเวียดนาม จีน ศรีลังกา และอินเดีย       กิจกรรมช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ นิยมทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำ ประแป้ง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ คนทำงานต่างจังหวัดหรือไกลครอบครัว ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อฉลองวันปีใหม่ไทย รวมถึงกล่าวคำอวยพร “สุขสันต์วันสงกรานต์” และ “สวัสดีวันสงกรานต์” ให้แก่กัน นอกจากนี้ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับจัดงานเทศกาลสงกรานต์ ก็สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้วันสงกรานต์ของไทยมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก       อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา      ทั้งนี้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” (Khon, masked dance drama in Thailand) ในปี 2561, “นวดไทย” (Nuad Thai, Traditional Thai Massage) ในปี 2562 และ “โนรา” ของภาคใต้ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) ในปี 2564
13 เมษายน 2567     |      626
ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา TCAS2567 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )
ใกล้สงกรานต์ เล่นสาดน้ำกันเพลิน อย่าลืมสมัครเรียนนะคะTCAS67 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ)      1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ/ออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เรียนออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ      เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 5-30 เมษายน 2567      สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 080 535 9909      หรือสอบถามเพิ่ม inbox แฟนเพจมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร)      สมัครออนไลน์ :https://admissions.mju.ac.th
11 เมษายน 2567     |      526
ดร.วีรภรณ์ โตคีรี ศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูลนิธิศิลาธัมภ์
      วันที่ 3- 5 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูนิธิศิลาธัมภ์     โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการและพัฒนาโจทย์วิจัยอาหารเป็นยาและพัฒนาการผลิตกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ ตลอดจนร่วมหารือแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเครือข่ายสาขาการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ป่า อันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวต่อไป       อย่างไรก็ตาม ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น จากคณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวอย่างดียิ่ง
7 เมษายน 2567     |      519
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทองแก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด
      วันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และสาขาพืชวิชาพืชศาสตร์ ร่วมต้อนรับนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร       ทั้งนี้ ในการมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ดังกล่าวนั้น ได้รับเกียรติจากนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบ พร้อมด้วยนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวรัตน์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 1 นายสันต์ แซ่ตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 2 นายสุพล จุลใส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 3 นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดชุมพรเข้าร่วม      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์และตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสาขาพืชศาสตร์ ได้จัดนิทรรศการบริการวิชาการเกี่ยวกับปลูกกล้วยหอมทองส่งออกญี่ปุ่น การดูแล การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของกล้วยหอมทอง และผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
9 เมษายน 2567     |      498
ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 13.30-16.00 น. อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์  ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เป็นผู้แทนคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567 เพื่อติดตามสถานการณ์ทุเรียน ขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าทุเรียน ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GAP พืช และการควบคุมแผงจำหน่ายทุเรียนริมทาง โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเกาะทองหลาง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาทุเรียนจังหวัดชุมพรแบบครบวงจร ทั้งเรื่องการผลิตและคุณภาพทุเรียน กำหนดช่วงวันเก็บเกี่ยวทุเรียนหมอนทอง ในวันที่ 20 มิถุนายน 2567 พร้อมวางมาตรการป้องกันทุเรียนอ่อน และการออกใบรับรองมาตรฐาน GAP ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน
5 เมษายน 2567     |      249
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ สุราษฎร์ธานี
      วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 08.30-16.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์  เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ จัดโดยหน่วย บริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ณ ห้องบรรจงแกรนด์บอลรูม 2 โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
5 เมษายน 2567     |      181
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร “ปลูกโทะ” สนองพระราชดำริ โครงการ อพ.สธ. เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
      วันที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 09.30 ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา ร่วมปลูกโทะ (ต้นโทะ) พันธุกรรมพืชท้องถิ่นของชุมพร สนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมปลูกโทะ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน      อย่างไรก็ตาม “ต้นโทะ” (Rhodomyrtus tomentosa) พืชในวงศ์ชมพู่ ผลของลูกโทะ มีสีม่วง อันเป็นสีประจำพระชนมวารของพระองค์ โทะดอกสวย เนื้อไม้แข็งแรง ผล สามารถกินสด หรือแปรรูป เช่น ทำวุ้น ทำแยม ย้อมผ้า เป็นต้น
2 เมษายน 2567     |      241
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน " เปิดเมืองกินฟรี Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2"
      วันที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน และผู้แทนนักศึกษาสาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอละแม จังหวัดชุมพร "Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2" ณ บริเวณชายทะเลหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิด >      พร้อมกันนี้ ได้นำลูกชิ้นทอด ตือคาโค น้ำโกโก้ น้ำเก็กฮวย และน้ำดื่ม บริการผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดเมืองกินฟรีอีกด้วย      อย่างไรก็ตาม งาน "Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2" จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ร่วมกับอำเภอละแมและชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอละแม
2 เมษายน 2567     |      181
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3
      วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงานต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจากนายนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม  และได้รับเกียรติจากนายมรกต วัชรมุสิก วิทยากร อพ.สธ.สวนจิตรลดา และคณะวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช      ทั้งนี้มีหน่วยงานองค์การปกครองท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง ได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 68 คน
26 มีนาคม 2567     |      291
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน”
      วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน ณ อาคารคาวบอย 3 พร้อมกับให้โอวาทแก่นักศึกษา และขับร้องเพลง “เธอผู้เป็นดั่งเช่นความหวัง” สร้างขวัญและกำลังใจให้นักศึกษาในการก้าวออกไปสู่โลกของการทำงาน พร้อมกันนี้ คณาจารย์และบุคลากรได้ร่วมกันผูกข้อมือแสดงความยินดีแก่นักศึกษา และอวยพรให้นักศึกษาทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าจะทำงานหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น      นอกจากนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ยังได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน”      ส่วนในช่วงบ่ายวันเดียวกัน มีการบรรยายในหัวข้อ “การเขียน Resume อย่างไรให้ได้งาน เทคนิคการแต่งกายและการสัมภาษณ์งาน โดยอาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา      ต่อด้วยการเสวนา “พร้อมไหม จบไปแล้วทำงาน หรือศึกษาต่อ” โดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่มาถ่ายทอดประสบการณ์การใช้ชีวิต จัดการการทางด้านการเงิน การวางแผนชีวิต ทั้งด้านการทำงาน และศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ      และปิดท้ายกิจกรรม ด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจ “ว่าที่บัณฑิตใหม่ เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยดร.ณรงค์ โยธิน      กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2567 จัดขึ้นโดยงานกิจการนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะจบการศึกษา ได้รับทราบแนวทาง การปฎิบัติ การวางแผนชีวิต เพื่อก้าวไปสู่โลกการทำงานได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งให้นักศึกษาได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ ความรัก ความผูกพันระหว่างเพื่อนและสถาบัน
26 มีนาคม 2567     |      506
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร “การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุม มีผู้บริหาร คณะครู โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรเข้าร่วมกว่า 120 คน      พร้อมกันนี้ นายชาญณรงค์ ปานเลิศ รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร นายเสรี พรหมฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และนางศรีแพ ไกยเทียม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ได้กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมประชุม      โดยช่วงเช้า ผู้เข้าประชุม รับฟังการบรรยาย “การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยนายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และรับฟังการบรรยาย “ภาพรวมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน” โดยทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชและในช่วงบ่าย ผู้เข้าประชุมได้แบ่งกลุ่มและปฎิบัติการกลุ่ม 4 ฐานการเรียนรู้ ดังนี้ฐานการเรียนรู้ที่ 1 :การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฐานการเรียนรู้ที่ 2 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 3 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 4 : องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน      อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมประชุมกลุ่มในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมส่งเสริมสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตรงตามปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาตน องค์กร สังคม ประเทศชาติต่อไป
20 มีนาคม 2567     |      687
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับสมัครนักศึกษาใหม่ 2 วันสุดท้าย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 (TCAS67 รอบ 2 ) 2 วันสุดท้ายหลักสูตร 4 ปี      1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์      3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (เรียนปกติ)      1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์      3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (เรียนออนไลน์)      1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ      เปิดรับสมัคร : วันนี้ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2567      สอบถามเพิ่มเติม : 080 535 9909      สมัครออนไลน์ :www.admissions.mju.ac.th
14 มีนาคม 2567     |      269
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมงานรวมพลคนแม่โจ้ภาคใต้ ครั้งที่ 27
      วันที่ 9 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน “รวมพลคนแม่โจ้ภาคใต้” แม่โจ้เยือนถิ่นอันดามัน ครั้งที่ 27 @ กระบี่ ณ ลานพระทิตย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่การจัดงานดังกล่าว ช่วงเช้ามีการแข่งขันกีเปตองสานสัมพันธ์ และแข่งขันฟุตบอลสามัคคี ระหว่างทีมอันดามันกับทีมอ่าวไทย      ผลการแข่งขันเปตอง ชนะเลิศได้แก่จังหวัดสตูล รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่จังหวัดชุมพร และรองชนะอันดับ 2 ได้แก่จังหวัดสงลา      ผลการแข่งขันฟุตบอลสามัคคีอันดามัน-อ่าวไทย ทีมชนะรุ่นอายุ 50 ปีขึ้นไป ได้แก่ทีมแม่โจ้อันดามัน      และช่วงเย็นงานเลี้ยงสังสรรค์ “รวมพลคนแม่โจ้ภาคใต้” แม่โจ้เยือนถิ่นอันดามัน ครั้งที่ 27 @ กระบี่โดยมีนาย สมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนี้ มีการแสดงพิเศษ “รองเง็งประยุกต์”ซุ้มอาหารของแต่ละจังหวัดและดนตรีความบันเทิงตลอดงาน
13 มีนาคม 2567     |      104
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับผู้แทนศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ มอบเงินช่วยเหลือนายสนธยา รุ่งแก้ว
        วันที่ 9 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 น. ณ บ้านเลขที่ 115/1 ตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ชุมพร และผู้แทนชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ มอบเงินช่วยเหลือนายสนธยา รุ่งแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร      เนื่องด้วยวันที่ 2 มกราคม 2567 เกิดเหตุไฟไหม้ ณ บ้านเลขที่ 115/1 ตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นบ้านพักของนายสนธยา รุ่งแก้ว นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ทำให้ตัวบ้านและทรัพย์สินภายในบ้านได้รับความเสียหายทั้งหลัง        มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ จึงได้ร่วมระดมทุนบริจาคช่วยเหลือ โดยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ เป็นเงินทั้งสิ้น 79,478 บาท (เจ็ดหมื่นเก้าพันสี่ร้อยเจ็ดสิบแปดบาทถ้วน)
13 มีนาคม 2567     |      87
โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2566 “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน”
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กำหนดจัดโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2566 “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน” วันพฤหัสบดี ที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 08.30-17.00 น. ณ อาคารคาวบอย 3       1.พิธีแสดงความกตัญญูกตเวทีแด่อาจารย์ “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน” บรรยาย “ความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน” โดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร      2.บรรยาย “การเขียน Resume อย่างไรให้ได้งาน เทคนิคการแต่งกายและสัมภาษณ์งาน” โดยอจาจารย์ ดร.จุฑามาศ เพ็งโคนา       3.เสวนา “พร้อมไหม จบไปต้องทำงานหรือศึกษาต่อ” โดยผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู ,อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์,อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น,อาจารย์ ดร.ฐิติมา ศรีพร       4. ชี้แจงทำความเข้าใจ “ว่าที่บัณฑิตใหม่ เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร” โดยดร.ณรงค์ โยธิน
13 มีนาคม 2567     |      122
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นผู้แทนชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ มอบตู้ปลอดเชื้อให้แก่โรงพยาบาลละแม
      วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร และศิษย์เก่าแม่โจ้ เป็นผู้แทนชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ มอบครุภัณฑ์ตู้ปลอดเชื้อ Biological Safety Cabinet (Class II) จำนวน 1 ตู้ มูลค่า 160,000 บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถ้วน) ให้แก่โรงพยาบาลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เพื่อใช้ในห้องปฎิบัติการ โดยนายแพทย์วิษณุ อนิลบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละแม มอบหมายให้นางสุภมาส วังมี เภสัชกรชำนาญการพิเศษและนางสาวอิณฑิภา หนุนภักดี นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ เป็นผู้รับมอบ      ทั้งนี้ งบประมาณในการจัดซื้อครุภัณฑ์ดังกล่าว มาจากการระดมทุนของชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ ในกิจกรรม “ปั่นคืนถิ่น 3 แม่โจ้ 90 ปี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน 20 คนปั่น ล้านคนให้” ต้นทางอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ปลายทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ (เบตง-แม่สาย-แม่โจ้) ซึ่งจัดขึ้นไปแล้ว ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ระยะทางรวม 2,345 กิโลเมตร      นอกจากนี้ ชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ ยังได้มอบอุปกรณ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อีกด้วย
4 มีนาคม 2567     |      461
ขอแสดงความยินดี กับนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
      ขอแสดงความยินดี กับนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร       ได้รับรางวัล นำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย “การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สุขภาพ” ครั้งที่ 3 (3 NACON-NRAHS) (3rd NACON-NARAHS) ผ่านระบบออนไลน์       1. นายธนกฤต สุขทองแท้ ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของน้ำมันเสม็ดขาวและระยะเวลาในการสลบปูม้า” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ที่ปรึกษาหลัก)       2. นายจิระพงศ์ วงษ์พินิจ ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “การเปรียบเทียบชนิดอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย (Artemia sp.)” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ที่ปรึกษาหลัก)       3. นายพีระพงศ์ แน่นหนา ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ประสิทธิภาพของสารแทนนินจากใบกล้วยหอมทองต่อการลดแอมโมเนียในน้ำเลี้ยงปลากะพงขาว” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ที่ปรึกษาหลัก)       4. นายณัฐกาญจน์ อินตัน ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ศึกษาการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของลูกกุ้งขาวสายพันธุ์สิชล 1 ในระยะ Post Larva 13 ถึง Post Larva 40 ที่อนุบาลด้วยอาหารเสริมสาหร่ายสไปรูลิน่า แอสตาแซนทิน และโปรตีนยีสต์” อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ (ที่ปรึกษาหลัก)
21 กุมภาพันธ์ 2567     |      381
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566
      วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ และดร.ณรงค์ โยธิน นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ชำนาญการ (รักษาการหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ) ร่วมแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 โดยมี ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดร.สมชาย เขียวแดง อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมมอบของที่ระลึกและกล่าวแสดงความยินดี     พร้อมกันนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้มอบของที่ระลึกแก่ผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 ดังนี้     ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 9 ราย     1. นางสาวจารุวรรณ โชติเทวัญ ประธานสายบัญชี การเงิน ประธานสายการตลาดต่างประเทศ และ เลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด และบริษัทในเครือปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล     2. นายเจริญ แก้วสุกใจ ผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร     3. นายโชตินรินทร์ เกิดสม (แม่โจ้รุ่น 53) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์     4. นายถาวร สงคราม (แม่โจ้รุ่น 54) ประธานกรรมการ บริษัท โอท๊อป-มาดเท่ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์     5. นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง     6. นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผลปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ     7. นายประธาน ปิ่นแก้ว (แม่โจ้รุ่น 49) ประธานกรรมการ บริษัท 9 แกลเลอรี่ จำกัด ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ     8. พล.ต.อ. มนู เมฆหมอก กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์    9. นายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการชุมชน     ผู้ได้รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 1 ราย ได้แก่     1. นายสามารถ ลี้ธีระนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัดปรัชญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร     ผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 จำนวน 5 ราย     1. นายกฤษฎา กสิวิวัฒน์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 47 ประธานฝ่ายปฏิบัติการ (COO) บริษัท พนัสโพลทรี่ กรุ๊ป จำกัด     2. นายแสวง ทาวดี ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 49 รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ     3. นายแดง มาประกอบ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 51 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจัดการงานพิธีและวิทยากรท้องถิ่น     4. นางรุ่งทิพย์ อินปา ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54 กรรมการผู้จัดการ บจก. รุ่งทิพย์ทรานสปอร์ต แอนด์เซอร์วิส     5. นายสิทธาไชย์ วัฒนคงเศรษฐ์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 59 ประธานกรรมการ บริษัท สยาม ไทเกอร์ อะโกร จำกัด
19 กุมภาพันธ์ 2567     |      519
บัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 46
      วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12.25 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565-2566 (ครั้งที่ 46) เป็นวันแรก ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่       โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต เข้ารับมอบปริญญาบัตร จำนวน 1,033 ราย แยกเป็นระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท - ป.เอก) จำนวน 116 ราย และระดับปริญญาตรี 917 รายจากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ทั้งหลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 4 ปี เทียบเข้าเรียน 5 สาขาวิชา ดังนี้       1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์      3.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ       4.สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ       5.สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น      อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 สามารถดูรายละเอียกการสมัครและสมัครออนไลน์ที่https://admissions.mju.ac.th 
19 กุมภาพันธ์ 2567     |      483
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร สนองพระราชดำริฯ ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยการสร้างแปลงปลูกอนุรักษ์ต้นโทะ (Rhodomyrtus tomentosa)
      วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร สังกัดงานบริการวิชาการและวิจัย ผู้รับผิดชอบโครงการขยายพันธุ์และการพัฒนาโทะอย่างบูรณาการ (เริ่มต้นโครงการปี 2562) ภายใต้การสนองงานในพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ (อพ.สธ.) ต้อนรับคณะครูโรงเรียนวัดสังขประดิษฐ์ ตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลต้นโทะและเก็บผลโทะ เพื่อนำไปเป็นวัสดุสำหรับการทดลองโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย      อย่างไรก็ดีเชื่อว่ากิจกรรมดังกล่าวจะสามารถสร้างจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มีความยั่งยืนสืบไป
16 กุมภาพันธ์ 2567     |      122
นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง นำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย “การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สุขภาพ” ครั้งที่ 3 (3 NACON-NRAHS) (3rd NACON-NARAHS) ผ่านระบบออนไลน์
      วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 4 คน ได้เข้าร่วมเสนอผลงานวิชาการแบบภาคบรรยาย (Oral presentation) ผ่านระบบออนไลน์ “ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สุขภาพ” ครั้งที่ 3 จัดโดยคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร ในกลุ่มเกษตรและส่งเสริม : สาขาประมง จำนวน 4 บทความ ดังนี้      1. นายธนกฤต สุขทองแท้ ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของน้ำมันเสม็ดขาวและระยะเวลาในการสลบปูม้า” อาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์      2. นายจิระพงศ์ วงษ์พินิจ ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “การเปรียบเทียบชนิดอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย (Artemia sp.)” อาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์      3. นายพีระพงศ์ แน่นหนา ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ประสิทธิภาพของสารแทนนินจากใบกล้วยหอมทองต่อการลดแอมโมเนียในน้ำเลี้ยงปลากะพงขาว” อาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์      4. นายณัฐกาญจน์ อินตัน ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ศึกษาการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของลูกกุ้งขาวสายพันธุ์สิชล 1 ในระยะ Post Larva 13 ถึง Post Larva 40 ที่อนุบาลด้วยอาหารเสริมสาหร่ายสไปรูลิน่า แอสตาแซนทิน และโปรตีนยีสต์” อาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์
16 กุมภาพันธ์ 2567     |      83
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 TCAS รอบ 2
  มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 TCAS รอบ 2หลักสูตร 4 ปี 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ 3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (เรียนปกติ) 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ 3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (เรียนออนไลน์)       1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ      เปิดรับสมัคร : วันที่ 15 ก.พ. - 15 มี.ค. 2567 ที่ www.admissions.mju.ac.th      อ่านคุณสมบัติผู้สมัคร : สำหรับ ม.6 /ปวช./กศน./GED : หลักสูตร 4-5 ปี GPAX 5 เทอม : https://admissions.mju.ac.th/www/Project.aspx?Acadyear=MjU2Nw==&RoundID=MjQ=&StudyYear=NA==      สำหรับ ปวส. หรือเทียบเท่า : หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง GPAX 3 เทอม : https://admissions.mju.ac.th/www/Project.aspx?Acadyear=MjU2Nw==&RoundID=MzA=&StudyYear=Mg==
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      232
ประชุมขับเคลื่อนโครงการสนองพระราชดำริ งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นอำเภอละแม
      วันพุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ และ นางสาวตรีชฏา สุวรรณโน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี ต้อนรับ นายนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม ประธานในการประชุมการขับเคลื่อนโครงการสนองพระราชดำริ งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นอำเภอละแม และผู้แทนหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอละแม ประกอบไปด้วย เทศบาลตำบลละแม องค์การบริหารส่วนตำบลละแม และองค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร       ในการประชุมการขับเคลื่อนโครงการสนองพระราชดำริครั้งนี้ เพื่อเชิญชวนหน่วยงานในเขตพื้นที่ร่วมสมัครเป็นสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินงานสนองพระราชดำริ เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นต่างๆ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลดรงค์ ทองสง และ นายชัยวิชิต เพชรศิลา ร่วมกันเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานดังกล่าว
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      65
รศ.ดร.ภัททิรา พงษ์ทิพย์พาที และรศ.ดร.ดวงแขฑิตา กาญจนโสภา เข้าประชาสัมพันธ์การศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
      วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้การต้อนรับรองศาสตราจารย์ ดร.ภัททิรา พงษ์ทิพย์พาที รักษาการแทนรองผู้อำนวยการฝ่ายพันธกิจเพื่อสังคมและการวิจัย และรองศาสตราจารย์ ดร.ดวงแขฑิตา กาญจนโสภา ในการเข้าประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรและสาขาวิชานวัตกรรมการประมง ให้แก่นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสาขาวิชาพืชศาสตร์ ตามโครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี      พร้อมกันนี้ ได้ร่วมหารือถึงแนวทางการทำความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      128
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา “กาแฟชุมพร”
      วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในฐานะคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนากาแฟ จังหวัดชุมพร เข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนแผนการพัฒนา “กาแฟชุมพร” โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนากาแฟจังหวัดชุมพร โดยมีส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายผู้ผลิตกาแฟ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเกาะมัตตรา ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดชุมพร โดยที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันพิจารณา(ร่าง)แผนพัฒนาการเกษตรรายสินค้ากาแฟจังหวัดชุมพร (พ.ศ.2566-2570) และมอบหมายคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนากาแฟจังหวัดชุมพร ในการจัดทำแผนงานโครงการพัฒนากาแฟ เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดชุมพร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569       ในการนี้ในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้แสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนการการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากาแฟจังหวัดชุมพร ในฐานะสถาบันการศึกษาของประจำจังหวัดชุมพร ตั้งแต่กระบวนการผลิตการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการตลาดเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐาน การผลิตกาแฟโรบัสต้าชุมพร (Robusta Chumphon) เพื่อให้เกิดการยกระดับเศรษฐกิจเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพร ต่อไป
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      133
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมถอดบทเรียนมังคุดชุมพร ปี 2566
      วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.30 น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมถอดบทเรียนมังคุดชุมพร ปี 2566 โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธาน นายกรนิจ โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน (เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ zoom meeting)       และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย เกษตรจังหวัดชุมพร, เกษตรอำเภอหลังสวน, อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร, ไปรษณีย์จังหวัดชุมพร, บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร, หอการค้าจังหวัดชุมพร, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร, สภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร, เครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club จังหวัดชุมพร, เครือข่าย YEC จังหวัดชุมพร, ตลาดกลางผักและผลไม้จังหวัดชุมพร รวมถึงกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเครือข่ายมังคุดจังหวัดชุมพร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม      เพื่อให้เกิดความรู้ที่เป็นบทเรียน และใช้เป็นข้อมูลเพื่อ เตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการตลาดมังคุดชุมพรปี 2567 รวมทั้งให้ความรู้เรื่องคุณภาพการผลิตให้ตรงตามลักษณะความต้องการของผู้บริโภคและความต้องการของตลาด ณ สวนภูดิศ อำเภอวังตะกอ จังหวัดชุมพร
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      137
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา สิ่งห์เหนือ-เสือใต้ ครั้งที่ 16
      วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.30 นายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา สิงห์เหนือ-เสือใต้ ครั้งที่ 16 ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.ธัชพล จุ้งเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมนักกีฬาของทั้งสองสถาบันเข้าร่วม ณ อาคารแม่โจ้ 80 ปี      พร้อมกันนี้ นายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม ได้ให้โอวาทแก่นักกีฬา ใจความว่า “การแข่งขันกีฬาเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพประชาชน เพราะการเล่นกีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ทั้งทางด้านสุขภาพพลานามัย ตลอดจนสามารถส่งเสริมให้บุคคลรู้จักเคารพระเบียบกติกา ปฏิบัติตามกฎหมาย มีระเบียบวินัย และรู้รักสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ดังคำกล่าวที่ว่า กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ”      อย่างไรก็ตาม การแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์  สิงห์เหนือ-เสือใต้ ครั้งที่  16  มีการแข่งขันกีฬาฟุตบอล, วอลเลย์บอล เปตอง และกีฬาพื้นบ้าน โดยมีถ้วยรางวัลรวมถ้วยเดียว นับคะแนนจากชนิดของกีฬา และผลการแข่งขันกีฬา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์  ชนะมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ด้วยคะแนนรวม 6-5 คะแนน รับถ้วยรางวัลเจ้ากีฬาไปครอง
12 กุมภาพันธ์ 2567     |      103
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี พร้อมด้วย ผศ.เบญจมาศ ณ ทองแก้ว สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ได้เข้าแนะแนวการศึกษา ระหว่างวันที่ 5 - 10 ก.พ. 2567
      อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี และผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ ณ ทองแก้ว สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ได้เข้าแนะแนวการศึกษา ระหว่างวันที่ 5 - 10 กุมพาพันธ์ 2567 ดังนี้      1.วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง       2.วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด       3.วิทยาลัยพณิชยการหาดใหญ่       4.วิทยาลัยการอาชีพเบตง       5.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่      พร้อมกันนี้ ได้มีโอกาสเข้าพบนายกเทศบาลเมืองเบตงและผู้อำนวยการกองการศึกษา หารือเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรและผู้ขาดโอกาสทางการศึกษาของ 3 จังหวัดชายแดนใต้และประชาสัมพันธ์การศึกษาต่อระดับปริญญาตรีหลักสูตรการท่องเที่ยวและบริการและหลักสูตรการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ ได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากคณาจารย์ นักศึกษาและศิษย์เก่า
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      84
งานบริการวิชาการและวิจัยเข้าร่วมกิจกรรม “รวมพลัง อช.สานพลังแก้จน พัฒนาคนอย่างยั่งยืน”
      วันที่ 29 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา งานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำโดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยนายชัยวิชิต เพชรศิลา รักษาการงานบริการวิชาการและวิชัย นางณิชาพล บัวทอง นักวิทยาศาสตร์ และนายกฤษฎิ์ พลไทย นักวิชาการประมง เข้าร่วมกิจกรรม “รวมพลัง อช.สานพลังแก้จน พัฒนาคนอย่างยั่งยืน” เนื่องในวาระครบรอบ 55 ปี โครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน” ณ วัดสามัคคีวัฒนาราม (วัดคันธุลี) ตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี     ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการบริการวิชาการ พร้อมสอบถามและให้ความสนใจ อาทิ การเลี้ยงไส้เดือนดิน กำจัดขยะอินทรีย์ และของเหลือใช้ในครัวเรือน, การผลิตไม้ดอกไม้ประดับในสวนปาล์มน้ำมัน การเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลเพื่อการค้า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจการเลี้ยงปลาดุกลำพันได้รับความสนใจจากประชาชนที่เข้ามาร่วมงานเป็นอย่างมาก      อย่างไรก็ตาม หน่วยงานหรือท่านที่สนใจเลี้ยงปลาดุกลำพัน สามารถติดต่อได้ที่งานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
12 กุมภาพันธ์ 2567     |      75
ขอเชิญร่วมการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ “สิงห์เหนือ-เสือใต้ ครั้งที่ 16“
      ขอเชิญร่วมการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ “สิงห์เหนือ-เสือใต้ ครั้งที่ 16“ และงานเลี้ยงสานสัมพันธ์แม่โจ้ ลาดกระบัง ในวันศุกร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สนามกีฬา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร "เสือใต้“ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของ ”สิงห์เหนือ“ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) โดยมีการแข่งขัน ฟุตซอลบุคลากรชาย, ฟุตซอลนักศึกษาชาย, วอลเลย์บอลนักศึกษาหญิง,เปตอง และกีฬาพื้นบ้าน       09.00 น. พิธีเปิด โดยนายอำเภอละแม (นายสุนทร จอมเมือง)       10.00 น. เริ่มแข่งขันกีฬา       16.00-20.00 น. งานเลี้ยงสานสัมพันธ์ แม่โจ้ ลาดกระบัง ครั้งที่ 16      มาร่วมลุ้นและส่งแรงใจเชียร์นักกีฬา หนึ่งปีมีเพียงแค่ครั้งเดียว พลาดไม่ได้ แล้วพบกันนะครับ
5 กุมภาพันธ์ 2567     |      543
ขอเชิญร่วมกิจกรรม THAILAND SOFT POWER X GUINNESS WORLD RECORDS? CHALLENGE
     การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในการดำเนินการจัดกิจกรรม THAILAND SOFT POWER X GUINNESS WORLD RECORDS™ CHALLENGE ในวันที่ 21-27 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ลาน Parc Paragon Siam Paragon ในรูปแบบงาน Event พร้อมบูธกิจกรรม เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยและผลักดันส่งเสริมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5F ที่เป็น Soft Power ของไทยให้กลายเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรม ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวิดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fight) และเทศกาลประเพณีไทย (Festival) โดยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจร่วมสมัครลองทำลายสถิติโลกโดยไม่เกี่ยงเรื่องคุณสมบัติ ภายในงานแบ่งเป็นบูทสำหรับการท้าทายทำลายสถิติ หัวข้อละ 1 บูทกิจกรรม รวม 5 หัวข้อ จากนั้นสุดยอดผู้ท้าทายที่ทำสถิติได้ดีที่สุดจะได้รับโอกาสท้าทายโดยมีกรรมการจาก Guinness World Records เป็นสักขีพยานเพื่อบันทึกเป็นสถิติโลก      ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมแข่งขันผ่านเว็บไซต์ของโครงการhttps://thailandsoftpowerchallenge.tourismthailand.org      หรือสมัครที่จุดลงทะเบียนภายในงาน โดยสามารถลงแข่งขันได้มากกว่า 1 รายการ และเลือกลงแข่งขันในแต่ละหัวข้อได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
29 มกราคม 2567     |      1062
ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมต้อนรับรมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)และคณะ
        วันที่ 22 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมต้อนรับ น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย  พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.อว. น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. น.ส.สุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. และคณะผู้บริหาร อว.       ในการลงพื้นที่ร่วมหารือกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 6 สถาบัน ได้แก่ วิทยาลัยชุมชนระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อหาแนวทางการขับเคลื่อนงานอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้  (Southern Economic Corridor: SEC) และแลนด์บริดจ์ โดยพัฒนาเชื่อมโยง 3 จังหวัดในพื้นที่อ่าวไทย-อันดามัน (ระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี) ณ ห้องประชุมแก้วเจ้าจอม อาคารเรียนรวม A มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาระนองจังหวัดระนอง
24 มกราคม 2567     |      1056
ผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญและผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ เป็นวิทยากรบรรยาย “พัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพด้านการทำการเกษตรสมัยใหม่สำหรับผู้สูงอายุ”
      วันที่ 18 มกราคม 2567 นายศรีชัย วีระนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร กล่าวรายงานและร่วมในพิธีเปิดโครงการอบรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ นักเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองชุมพร รุ่นที่ 7 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 “สุขภาพดี มุ่งวิถีพอเพียง เคียงคู่วัฒนธรรม ล้ำเลิศจิตอาสา” โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธาน นางสาวรังสิมา ลัธธนันท์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชุมพร       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “การพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพด้านการทำการเกษตรสมัยใหม่สำหรับผู้สูงอายุ" ให้กับนักเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองชุมพร ณ โรงเรียนเทศบาล1 (บ้านท่าตะเภา)
19 มกราคม 2567     |      610
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน วันครู 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ รับรางวัล “ครูดีศรีชุมพร” ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร
      วันที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 07.30 น. อาจารย์  ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมงานวันครู ครั้งที่ 68 พ.ศ.2567 “ครูดีสอนดี ศิษย์ดีเรียนดี มีความสุข” ณ อาคารโรงอาหาร-หอประชุม มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรเป็นประธานในพิธี      ช่วงเช้าร่วมพิธีสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหาร (ปิ่นโต) และจตุปัจจัยไทยธรรม และร่วมงานวันครู 2567  โดยนางสาวสุภัคกมลชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร กล่าวรายงาน นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ประธานในพิธีอ่านสารวันครู  มอบของที่ระลึกแก่ครูอาวุโสนอกประจำการ และครูอาวุโสในประจำการ มอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ “ครูดีศรีชุมพร”  และกล่าวคำปราศรัย เนื่องในโอกาสวันครู ครั้งที่ 68 พ.ศ. 2567      พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้ขึ้นรับรางวัล “ครูดีศรีชุมพร” โดยรางวัลดังกล่าว มอบเพื่อเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ที่มีความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีในการครองตน ครองคน ครองงาน เป็นที่ศรัทธา ยกย่อง ยอมรับของเพื่อนครู ของชุมชน เป็นผู้เสียสละ อุทิศตน มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ตลอดจนช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างดี
16 มกราคม 2567     |      461
วันครูแห่งชาติ 16 มกราคม 2567
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  ”ขอยกย่องเชิดชูและระลึกถึงพระคุณของครูผู้เสียสละ“ เนื่องในโอกาสวันครู ประจำปี พ.ศ.2567      คำขวัญวันครูปี 2567 โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี   “ครูวางฐานคิด ส่งเสริมศิษย์สร้างสรรค์”      “ครู” คือผู้นำความรู้ทั้งจากทั้งในตำราและจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาถ่ายทอดให้กับศิษย์ งานของครูในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ จึงไม่ใช่แค่การสอนหนังสือให้ความรู้ตามตำรา แต่ครูยังต้องใส่ใจสอนวิธีคิด และวิธีจัดการกับข้อมูลที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพื่อให้ศิษย์สามารถจัดระเบียบความคิดได้ รวมถึงเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเองอย่างมีคุณภาพ      คำว่าครูสำหรับผม คือ ผู้สร้าง และ ผู้ให้ ครับ “สร้าง” คือ สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับสังคม “ให้” คือ ให้หลักคิดแก่ผู้คนเพื่อนำไปต่อยอดได้
16 มกราคม 2567     |      312
ขอเชิญนักศึกษาลงทะเบียนเข้าอบรม เตรียมความพร้อมก่อนออกปฎิบัติสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566-2567
       ขอเชิญนักศึกษาลงทะเบียนเข้าอบรม เตรียมความพร้อมก่อนออกปฎิบัติสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566-2567 อบรมโดยใช้ Microsoft Teams (ถ่ายทอดสด) วันที่ 24 ,31 มกราคม 2567 และวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 รายละเอียด ดังนี้      1.วันพุธ ที่ 24 มกราคม 2567 (09.00-12.00 น. /13.00-16.00 น.)      2.วันพุธ ที่ 31 มกราคม 2567 (09.00-12.00 น./13.00- 16.00 น.)      2.วันพุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 (13.00-16.00 น.)      ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม >http://www.education.mju.ac.th/student/Login.aspx หมายเหตุ      1.สำหรับนักศึกษาที่ติดเรียนวันที่ 24,31 ม.ค. 2567 (09.00-12.00 น.) สามารถอบรมออนไลน์ผ่าน MJU Mooc โดยจะแจ้งลิ้งค์เข้าระบบให้นักศึกษาทราบทางไลน์กลุ่มต่อไป      2.ลงทะเบียนภายในวันที่ 22 ม.ค.2567 เท่านั้น ทั้งนี้หากนักศึกษาไม่ผ่านการอบรมดังกล่าว จะไม่สามารถออกปฎิสหกิจศึกษาได้      สอบถามเพิ่มเติม :นายวันชัย ล่องอำไพ (พี่ปอนด์) งานบริการการศึกษา ในวันและเวลาราชการ
16 มกราคม 2567     |      247
อาจารย์ปณิดา กันถาด เข้าแนะแนวและประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรังและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง
      วันที่ 10-11 มกราคม 2567 อาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เข้าแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและประชาสัมพันธ์การเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2567 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรังและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง         ในการเข้าแนะแนวและประชาสัมพันธ์การเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ในครั้งนี้ นักศึกษาให้ความสนใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
11 มกราคม 2567     |      324
สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง บริการรับวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ให้คำปรึกษาและฝึกอบรม
      หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร บริการรับวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ให้คำปรึกษาและฝึกอบรม ตามรายการ ดังนี้       1.บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเกษตรในพารามิเตอร์ต่างๆ       2.วิเคราะห์คุณภาพน้ำดีและน้ำทิ้ง           2.1 น้ำดื่ม น้ำบาดาล น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน           2.2 น้ำเข้าระบบบำบัด น้ำออกจากระบบบำบัด           2.3 น้ำบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ       3.บริการให้คำปรึกษาและจัดฝึกอบรม ด้านการจัดการคุณภาพน้ำเพื่อการเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ติดต่อสอบถาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู    โทรศัพท์    086-610 3317 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์      โทรศัพท์    084-246 3128รายละเอียดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการ>Doc_25660720090547_252494.pdf (mju.ac.th)
9 มกราคม 2567     |      410
บรรยากาศเลือกตั้งนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ หน่วยเลือกตั้งที่ 1 ภาคใต้ จังหวัดชุมพร
      วันที่ 6 มกราคม 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร นายสมนึก พรมมา นายธนดล นุ่นจำนงค์ ดร.ณรงค์ โยธิน นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ชำนาญการ (รักษาการหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ)และนางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เป็นคณะกรรมเลือกตั้งนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ หน่วยเลือกตั้งที่ 1 ภาคใต้ จังหวัดชุมพร ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยจังหวัดชุมพร มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 35 ราย     ผลการเลือกตั้ง มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 28 คน โดยหมายเลข 1 ดร.สมชาย เขียวแดง ได้คะแนน 15 คะแนน หมายเลข 2 ดร.ขุนศรี ทองย้อย ได้คะแนน 13 คะแนน     
9 มกราคม 2567     |      419
“ผักเหลียง” ประโยชน์ดีๆมากมาย ผลงานวิจัยพบว่า "มีสารต้านอนุมูลอิสระ“ (anti-oxidant)
      วันที่ 21 ธันวาคม 2566 อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ได้นำเสนอบทความวิจัย เรื่อง “ผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและคุณค่าโภชนาการของผักเหลียงที่ปลูกในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดชุมพร” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 “นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่       ผลการวิจัยพบว่า “ผักเหลียง” มีสารต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant) ซึ่งยังไม่มีรายงานใด ที่พบว่าผักเหลียงมีสารนี้มาก่อน       คณะนักวิจัย อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ อาจารย์ ดร.ณัชพัฒน์ สุขใส อาจารย์ ดร.ฉันทรวรรณ เอ้งฉ้วน ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ ณ ทองแก้ว
8 มกราคม 2567     |      556
ดร.จักรกฤช ณ นคร และดร.ณรงค์ โยธิน เข้าพบและสวัสดีปีใหม่ สจ.นันทภพ เอื้ออารี
      วันที่ 5 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี และดร.ณรงค์ โยธิน นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ชำนาญการ (รักษาการหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ) เข้าพบ นายนันทภพ เอื้ออารี สมาชิกสภาจังหวัดชุมพรเขต 1 อำเภอละแม เพื่อสวัสดีปีใหม่ 2567 พร้อมกับหารือประเด็นความร่วมมือทางด้านการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ ตลอดจนการจัดหาทุนสนับสนุนการศึกษา      อย่างไรก็ตาม ในการหารือดังกล่าว สจ.นันทภพ เอื้ออารี ได้สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 8 ทุน โดยจะมีการมอบทุนอย่างเป็นทางการอีกครั้งต่อไป
5 มกราคม 2567     |      187
ผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญและผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ เข้าแนะแนวและประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี
      วันที่ 3 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เข้าแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและประชาสัมพันธ์การเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2567 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี      ในการเข้าแนะแนวและประชาสัมพันธ์การเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ในครั้งนี้ นักศึกษาให้ความสนใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
3 มกราคม 2567     |      269
ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดภาพถ่าย "ความสุขใกล้บ้าน@เทศกาลโคมไฟ" ในงานเทศกาลโคมไฟนานาชาติ@หนองใหญ่ ครั้งที่ 1
      ททท.สำนักงานชุมพร เชิญ ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ "ความสุขใกล้บ้าน@เทศกาลโคมไฟ" ในงานเทศกาลโคมไฟนานาชาติ@หนองใหญ่ ครั้งที่ 1 จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ททท.สำนักงานชุมพร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2566 - 4 มกราคม 2567 ณ โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ ตำบลบางลึก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
3 มกราคม 2567     |      233
ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร,อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี,นางสาวอารญา อุดมรัตน์ และนางสาวพิมพิชญา กลมแป้น ในโอกาสได้รับรองการตีพิมพ์บทความวิชาการ
      ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร,อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี,นางสาวอารญา อุดมรัตน์ และนางสาวพิมพิชญา กลมแป้น ในโอกาสได้รับรองการตีพิมพ์บทความวิชาการ เรื่อง “การสื่อสารทางการเมืองของพรรคก้าวไกลผ่านเฟสบุ๊คในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566” ในวารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2567 วารสารกลุ่ม 2 ที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีก่ารอ้างอิงวารสารไทย (TCI 2)
29 ธันวาคม 2566     |      229
ผ.ศ.ชลดรงค์ ทองสง เข้าร่วมจัดนิทรรศการผลงานกิจกรรมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง ตัวแทนหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมจัดนิทรรศการผลงานกิจกรรมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ซึ่งประกอบไปด้วย โครงการสารสกัดจากต้นเสม็ด โดยอาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไผ่อย่างบูรณาการและโครงการชันโรงของว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ ในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่      พร้อมกันนี้ ได้เข้าร่วมเสวนา “บทบาทของ อปท.กับงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นและความเป็นกลางทางคาร์บอน” ( carbon neutrality) ในวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น 1 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
27 ธันวาคม 2566     |      141
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุพร ร่วมพิธีมอบทุนการศึกษา 90 ปี 999 ทุน และมอบทุนการศึกษา เพื่อพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
      วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 08.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมกิจกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดพิธีมอบทุนการศึกษา 90 ปี 999 ทุนเพื่อพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำการศึกษา 2566 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้กล่าวต้อนรับและให้โอวาทแก่นักศึกษา ในพิธีมอบทุนการศึกษา 90 ปี 999 ทุนเพื่อพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2566 และมอบของที่ระลึกขอบคุณผู้สนับสนุนทุนการศึกษา       พร้อมกันนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ ในนามคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  ได้มอบทุนการศึกษา จำนวน 2 ทุนให้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 2 ทุน  พร้อมทั้งเป็นตัวแทนมอบทุนการศึกษาในนามแม่โจ้รุ่น 54 ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ (เชียงใหม่-แพร่-ชุมพร)
26 ธันวาคม 2566     |      151
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการระดับชาติ ในงานงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี
      วันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 13.00 น อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมเสวนาในการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566: นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ ในประเด็น “ทิศทางเกษตรปลอดภัยในเวทีไทย เวทีโลก” โดยมีคณะวิทยากรเข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย นายคม ศรีราช ตำแหน่ง เจ้าของวิลล่า วาริช (Villa Varich) นายศรายุทธ ศรีบัญญรานนท์ ตำแหน่ง President Chief Executive Officer (CEO) Thai World Food (Netherland) Co,LTD นางสาวสุภวรรณ ลี ตำแหน่ง Chief of Business Director (Unicoco Co,LTD) ประเทศไทย นายปฏิวัติ อินแปลง ตำแหน่ง เจ้าของกิจการผลิตภัณฑ์จากนมโค ฟาร์มอินแปลง นายธนากร นิลเขียว เจ้าของสวนและร้านกาแฟ นิลเขียว ชุมพร โดยมี อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นผู้ดำเนินรายการ และเสวนาในครั้งนี้ได้ดำเนินการผ่านระบบ LIVE STREAMING Zoom Meeting      ภาพ: กมลภพ ทองเอียง สำนักข่าววุฒิสภาฯ
26 ธันวาคม 2566     |      165
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมการเสวนา “การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดระบบห่วงโซ่คุณค่าไผ่ประเทศไทยผ่านกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในรูปแบบเครือข่ายประกอบการธุรกิจไผ่”
      วันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมเสวนา “การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดระบบห่วงโซ่คุณค่าไผ่ประเทศไทยผ่านกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในรูปแบบเครือข่ายประกอบการธุรกิจไผ่” โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ร่วมเป็นเจ้าภาพกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 “นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ” โดย รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มทร.ธัญบุรี ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและกล่าวเปิดงานการประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างเครือข่ายไผ่ภาคเหนือสู่การเป็นสมาพันธ์ไผ่ประเทศไทย โดยคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมองการพัฒนาต่อยอดใผ่ และการนำเสนอผลของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับเครือข่ายศิษย์เก่าแม่โจ้ ภายใต้โครงการ “ใผ่เพื่อน้อง” ที่รับผิดชอบโดยนายขจรรักษ์ พู่พัฒนาศิลป์ นักวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
26 ธันวาคม 2566     |      164
พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คาวบอยเกมส์ ครั้งที่ 21) “น้ำใจไมตรี สามัคคี และมิตรภาพ”
                วันที่ 24 ธันวาคม 2566 เวลา 08.30 น. นายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คาวบอยเกมส์ ครั้งที่ 21) “น้ำใจไมตรี สามัคคี และมิตรภาพโดยมีวงโยธวาทิต จากโรงเรียนสวนศรีวิทยา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร นำขบวนพาเหรดนักกีฬาเข้าสู่สนาม และอาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฯฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ กล่าวรายงานการจัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร         การแข่งขันกีฬาการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในครั้งนี้ แบ่งสีการแข่งขันสามสี คือ สีขาว สีเขียว และสีเหลือง มีการแข่งขันกีฬาสากลหลายประเภท อาทิ ฟุตซอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ เปตอง โดยจัดการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 18-24 ธันวาคม 2566 นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน อาทิ วิ่งกระสอบ เก้าอี้ดนตรี กินวิบาก ปิดตามตีปิ๊บบรรยากาศเป็นไปความสนุกสนาน ความรักความสามัคคี ความมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นนักกีฬา ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาแต่ละสาขา อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป                อย่างไรก็ตาม  “การเล่นกีฬา” ไม่เพียงแต่ได้สุขภาพที่ดี สนุกสนาน หรือออกกำลังกาย เพียงอย่างเดียว แต่การเล่นกีฬานั้นจะสามารถช่วยพัฒนาได้ในหลากหลายด้าน ดังนี้      1.ด้านสุขภาพกาย การออกกำลังกายสามารถช่วยปรับสภาพความสมดุลให้ทำงานปกติ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย       2.ด้านสุขภาพใจ การเล่นกีฬาทำให้รู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเองมากขึ้น รู้จักแพ้ รู้จักชนะ นำไปสู่การพัฒนาทางด้านจิตใจ เรียนรู้ทางอารมณ์ รู้จักเคารพ ให้เกียรติตนเองและผู้อื่น       3.ด้านสังคม ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หลีกเลี่ยงอบายมุขสิ่งเสพติด ตลอดจนช่วยเสริมสร้างวินัย และฝึกความเป็นน้ำใจนักกีฬา
25 ธันวาคม 2566     |      177
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566
วันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 โดยมี ดร. อำนวย ยศสูง นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในการเปิดงาน ภายในงานยังมีกิจกรรม การบรรยายพิเศษ เกษตร อาหาร และสุขภาพกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เวทีโลกโดย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สายงานกลุ่ม กลยุทธ์องค์กร การบรรยายพิเศษ กลยุทธ์การปั้นธุรกิจการเกษตรเพื่อความยั่งยืนโดย นายวิชัย ทองแตง นักลงทุนใน ธุรกิจสตาร์ทอัพ การบรรยายพิเศษ “Bioeconomy in agriculture, food and health” โดย ดร. บรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรมิตรผล และ การนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคบรรยาย ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
25 ธันวาคม 2566     |      121
แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของ อว.ในพื้นที่จังหวัดระนอง
      วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566 แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของ อว.ในพื้นที่จังหวัดระนอง และรับฟังแนวทางการขับเคลื่อนงาน อววน. ในพื้นที่ ระนอง SEC และ Landbridge ณ ห้องประชุม A 401 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดระนอง ตามประเด็นการพัฒนาพื้นที่ 5 มิติ คือ เกษตร/ท่องเที่ยว/สินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น/wellness/การศึกษา โดยตัวแทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำโดยผศ.ดร.กลวรรณ ศุภวิญญู พร้อมด้วย ผศ.ยุทธนา สว่างอารมย์ ได้เข้าร่วมนำเสนอรายงานในประเด็นดังกล่าว
25 ธันวาคม 2566     |      182
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมต้อนรับทีมปั่นคืนถิ่น 3 แม่โจ้ 90 ปี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน 20 คนปั่นล้านคนให้
      วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมต้อนรับทีมนักปั่นคืนถิ่น 3 แม่โจ้ 90 ปี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน 20 คนปั่นล้านคนให้ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมต้อนรับโดย      โครงการการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อ จัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลเบตง โรงพยาบาลละแม โรงพยาบาลร้องกวาง โรงพยาบาลสันทราย และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยเริ่มต้นที่อำเภอเบตง-แม่สาย- และปลายทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่รวมระยะทางรวม 2,345 กิโลเมตร
21 ธันวาคม 2566     |      185
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมสัญจรกิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา
      วันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2566 อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วม ประชุมสัญจรกรรมการพัฒนาศักยภาพนิสิต นักศึกษา ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ครั้งที่ 4/2566 ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ณ หอประชุมใหญ่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ และ ผศ.ว่าที่ ร.ต.ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรด้านพัฒนานักศึกษา และผู้นำ นิสิต นักศึกษา สมาชิกจำนวน 36 สถาบัน      ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพนิสิต นักศึกษา ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานพัฒนาศักยภาพนิสิต นักศึกษา รวมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษารวมทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่ต้องวางแนวทางการพัฒนานักศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นบัณฑิต เข้าสู่ตลาดแรงงานและร่วมกันขับเคลื่อนตามความต้องการของประเทศต่อไป
21 ธันวาคม 2566     |      188
ส่งความสุข ส่งรอยยิ้ม Merry Christmas & Happy New Year 2024
      ขอเรียนเชิญ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม Merry Christmas & Happy New Year 2024 โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้      1) กิจกรรมแลกของขวัญปีใหม่เสริมสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมการใช้ห้องสมุด (ราคาของขวัญขั้นต่ำชิ้นละ 50 บาท ไม่ร่วมค่าห่อ) จัดส่งของขวัญได้ที่ (พี่เอียด งานห้องสมุด) ภายในวันที่ 22 ธ.ค. 2566 และจะเริ่มกิจกรรมแลกของขวัญ ในวันจันทร์ ที่ 25 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่ เวลา 10.00 น. – 16.00 น. ณ ห้องสมุด อาคารเรียนรวม 80 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร      2) มอบรางวัลยอดนักอ่านดีเด่น ประจำปี 2566      3) ลุ้นรับรางวัลพิเศษอีกมาย สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม      สุดสนุก กับกิจกรรมที่น่าสนใจ พลาดไม่ได้แล้ว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พี่เอียด งานห้องสมุด โทร. 091-0676479
21 ธันวาคม 2566     |      237
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีสักการะ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ ครบรอบ 143 ปี
      วันที่ที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 น. ที่อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ พร้อมด้วยดร.จักกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี และบุคลากร ร่วมพิธีสักการะพระรูปปั้น พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ ครบรอบ 143 ปี น้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณพระองค์ ที่ได้พัฒนากิจการทหารเรือให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีความเจริญก้าวหน้าเป็นที่ประจักษ์ มาตราบเท่าทุกวันนี้      พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423 ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาในปี 2544 มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย"
21 ธันวาคม 2566     |      178
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมให้การต้อนรับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพิธีเปิดนิทรรศการ “เกษตร อาหาร และสุขภาพ”
      วันที่ 18 ธันวาคม 2566 เวลา 08.30 น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมต้อนรับ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ “เกษตร อาหาร และสุขภาพ“ พร้อมกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี      พร้อมกันนี้ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ต้นทุนที่ทำกินสู่ความมั่นคงด้านการเกษตร อาหารและสุขภาพ” รวมทั้ง ได้มอบใบประกาศนียบัตรแก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ จำนวน 83 ราย ที่ผ่านการขอมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM เยี่ยมชมนิทรรศการหน่วยงานต่างๆกระทรวงเกษตรและสกรณ์และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ภายในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี เกษตร อาหาร สุขภาพ
21 ธันวาคม 2566     |      130
ดร.ณรงค์ โยธิน เข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์ (Zoom Meeting) เพื่อเตรียมความพร้อมต้อนรับ พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา
      ดร.ณรงค์ โยธิน ผู้ประสานงาน อว. ส่วนหน้าจังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร วันพฤหัสบดีนี้ 14 ธันวาคม 2566 ร่วมประชุมแบบออนไลน์ (Zoom Meeting) เพื่อเตรียมความพร้อมต้อนรับ พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม? ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและศึกษาข้อมูลการขับเคลื่อนงานด้าน ววน. ของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดระนอง เพื่อเตรียมนำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม ครม.สัญจรครั้งที่ 2 ณ จังหวัดระนอง โดยกำหนดจัดในช่วงต้นปี พ.ศ.? 2567 นี้
21 ธันวาคม 2566     |      96
ลงพื้นที่แปลงปลูกไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง สำรวจความพร้อมของระบบการให้น้ำในแปลงด้วยระบบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
       อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ในนามตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัทอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด และ นายสิทธิชัย สิมมาลา เจ้าหน้าที่พัฒนาวิจัย พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ลงพื้นที่แปลงปลูกไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง เพื่อสำรวจความพร้อมของระบบการให้น้ำในแปลงไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง ด้วยระบบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าของทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งได้ร่วมวางแผนงานการพัฒนาแปลงไผ่ดังกล่าวให้เป็นฟาร์มตัวอย่าง ด้านการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้พลังงานสะอาด ทั้งนี้ทางบริษัทอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด จะได้สนับสนุนงานวิจัยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งต่อไป
21 ธันวาคม 2566     |      111
นักศึกษาสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง นำเสนอผลงานวิชาการ ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ณ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
      วันที่ 7 ธันวาคม 2566 นายกริชวัชร์ สงค์ดำ และนายสรศักดิ์ เชื้อบ่อคา นักศึกษาสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้เข้าร่วมเสนอผลงานวิชาการแบบภาคบรรยาย (Oral presentation) ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 20 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในสาขาสัตว์และสัตว์แพทย์ โดยเป็นผลงานที่ได้จากการไปฝึกสหกิจศึกษา ณ สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ       ทั้งนี้ ขอขอบคุณสถานีวิจัยประมงคลองวาฬ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้นักศึกษาของเราได้เสริมสร้างประสบการณ์ และนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในด้านต่างๆ ต่อไป ดังนี้       1.นายกริชวัชร์ สงค์ดำ นักศึกษาสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำเสนอผลงานเรื่อง “ลักษณะทางกายภาพของดินพื้นบ่อต่ออัตราการตายของปลิงทะเล (Holothuria scabra)”       2.นายสรศักดิ์ เชื้อบ่อคา นักศึกษาสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ม.แม่โจ้-ชุมพร นำเสนอผลงานเรื่อง “การจัดการด้านอาหาร (ระดับโปรตีน และอัตราการกินอาหาร) ของการเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus x O. mossambicus) สายพันธุ์ทนเค็ม”
21 ธันวาคม 2566     |      1962
คณบดีและบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปฎิบัติงานติดตามงานโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริฯ
      อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร พร้อมด้วยนายชัยวิชิต เพชรศิลา และว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตร เดินทางไปปฏิบัติงานติดตามงานโครงการสาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีตพื้นที่ 10.5 ไร่ ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริฯ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยมีคุณสุนิดา อนุการ นักวิชาการเกษตรประจำโครงการฯ รายงานความก้าวหน้าการปลูกเก๊กฮวย ข้าวโพดหวานสองสี อะโวคาโด เสาวรส บวบ มะระ ฯลฯ อย่างไรก็ดีในการติดตามงานครั้งนี้ได้วางแผนการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) และการเลี้ยงผึ้งชันโรงชนิดขนเงิน (Tetragonula pagdeni) เพื่อช่วยผสมเกสร มะม่วง ข้าวโพด และพืชอื่นๆที่ปลูกในโครงการฯ เพื่อรองรับการเป็นแหล่งเรียนรู้และการบริการวิชาการด้านการเกษตรต่อไป
9 ธันวาคม 2566     |      458
นายกฤษฎิ์ พลไทย เป็นวิทยากรบรรยาย “การเลี้ยงปลาในกระชังและการผลิตปลาน้ำจืดแบบลดต้นทุน” ให้กับคณะครู นักเรียน โรงเรียนบ้านทรายทอง อ.ละแม จ.ชุมพร
      วันที่ 8 ธันวาคม 2566 เวลา 08.30 -12.00 น. นายกฤษฎิ์ พลไทย นักวิชาการประมง สังกัดงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยาย “การเลี้ยงปลาในกระชังและการผลิตปลาน้ำจืดแบบลดต้นทุน” ให้กับคณะครู นักเรียน โรงเรียนบ้านทรายทอง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และกลุ่มดำเนินโครงการ “โคก หนอง นา บ้านทรายทอง” โดยการประสานงานขอความอนุเคราะห์จากนางสาวสุกัญญา เมฆนิติ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทรายทอง และผู้นำชุมชนบ้านทรายทอง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
8 ธันวาคม 2566     |      406
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ เยี่ยมชมแปลงนาสาธิตฯ โรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
      วันที่ 7 ธันวาคม 2566 อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมแปลงนาสาธิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยมีนายสมศักดิ์ สวัสดี รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และนางสาวนันท์นภัส สุทธิการ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้การต้อนรับพร้อมพานำชม      อย่างไรก็ตาม ในการเข้าเยี่ยมชมแปลงนาสาธิตฯ ในครั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างโรงเรียนท่าชนะกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต่อไป
7 ธันวาคม 2566     |      248
กำหนดการสอบวัดความรู้ความสามารถด้าน ICT ประจำเดือนธันวาคม 2566 (สำหรับศึกษารหัส 64-65)
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้ -ชุมพร เปิดรับลงทะเบียนสอบวัดความรู้ความสามารถด้าน ICT (สำหรับศึกษารหัส 64-65)ขั้นตอนการสมัคร      1.สแกนลงทะเบียนเลือกวันสอบ (ลงทะเบียนออนไลน์เท่านั้น)      2.ชำระค่าธรรมการสอบ 50 บาท (ห้องงานคลังและพัสดุ อาคารบุญรอดฯ ชั้น 1)      3.ยื่นใบเสร็จรับเงินค่าสมัคร ที่งานบริการการศึกษา (นายวันชัย ล่องอำไพ)กำหนดวันสอบ : วันพุธ ที่ 13 ธันวาคม 2566 และ วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม 2566      เวลา 13.00-14.30 น. (รอบละ 15 คน)      เวลา 15.00-16.30 น. (รอบละ 15 คน)***หมายเหตุ : สอบ วันที่ 13 ธันวาคม 2566  เลือกวันสอบภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 (ก่อนเวลา 12.00 น.)                    สอบ วันที่ 20 ธันวาคม 2566 เลือกวันสอบภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2566 (ก่อนเวลา 12.00 น.)สถานที่สอบ : ห้องคอมพิวเตอร์ 2 ชั้น 2 (อาคารเรียนรวมแม่โจ้ 80 ปี)
7 ธันวาคม 2566     |      251
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ “วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ” ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖
      วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๖.๔๕ น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยผู้แทนนักศึกษา ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร "วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ" และเวลา ๐๘.๐๐ น.ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายเครื่องราชสักการะ ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ สำนักงานเทศบาลเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธี      พร้อมกันนี้ ที่ศาลาประชาคมอำเภอละแม อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฯฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ ดร.จักกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี บุคลากร และนักศึกษา ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายเครื่องราชสักการะ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร "วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ" โดยมีนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธี
7 ธันวาคม 2566     |      353
ดร.ณรงค์ โยธิน เข้าร่วมประชุมขับเคลื่อนโครงการ TO BE NUMBER ONE จังหวัดชุมพร
      วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี มอบหมายให้ดร.ณรงค์ โยธิน นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ชำนาญการ (รักษาการหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) จังหวัดชุมพร โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุม และมีหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ สถานศึกษา สถานประกอบการ ผู้นำท้องถิ่น และผู้แทนเครือข่ายชมรม TO BE NUMBER ONE ในพื้นที่เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ศาลากลางจังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้มีการติดตามผลการดำเนินงาน โครงการ TO BE NUMBER ONE ปี 2566, แผนการจัดกิจกรรมโครงการ TO BE NUMBER ONE ปี 2567, งบประมาณในการดำเนินกิจกรรม โครงการ TO BE NUMBER ONE และการจัดทำฐานข้อมูล TO BE NUMBER ONE จังหวัดชุมพร นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันพิจารณาตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรม TO BE NUMBER ONE ประเภทต่างๆ ทั้งระดับ อำเภอ, ชมรมในสถานศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอาชีวะ อุดมศึกษา, ชมรมในสถานประกอบการ, ชมรมในชุมชน, ชมรมในเรือนจำ, และชมรมในคุมประพฤติ เป็นต้น      ซึ่งในการประกวดกิจกรรมมหกรรมรวมพลสมาชิก TO BE NUMBER ONE ระดับประเทศ ประจำปี 2566 ผลปรากฏว่า จังหวัดชุมพร ผ่านการคัดเลือกเป็นประเภท จังหวัด TO BE NUMBER ONE กลุ่มรักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบระดับเงินปีที่ 2 ขณะที่ชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนบ้านพรุใหญ่ ผ่านการคัดเลือกเป็น ประเภท ชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชน กลุ่มดีเด่น      และโอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ยังได้มอบเกียรติบัตร TO BE NUMBER ONE TEEN DANCERCISC ให้แก่นักเรียน โรงเรียนอนุบาลอำนวยสุข และโรงเรียนศรียาภัย อีกด้วย
1 ธันวาคม 2566     |      280
กิจกรรมศึกษาเรียนรู้ “การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ” สาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ
      วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน พร้อมด้วยอาจารย์ฉัตรนลิน แก้วสม และนักศึกษา เข้าศึกษาเรียนรู้ “การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ” โดยมีคุณณัฏฐเอก อรุณโชติ ผู้จัดการบ้านธรรมวัฒน์ ให้การต้อนรับและบรรยายให้ความรู้      อย่างไรก็ตาม การเข้าศึกษาเรียนรู้ดังกล่าว เป็นการบูรณาการกับกิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชา กก 100 หลักการตลาด และรายวิชา กก101 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
14 มีนาคม 2567     |      389
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรและชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร ร่วมต้อนรับทีมปั่นคืนถิ่น 3 ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2566
      วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 16.30 ที่ บริเวณลานพระพิรุณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็นรองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์  อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี นายอุดมศักดิ์  เฉลิมพนาพันธ์ ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร และผู้แทนบุคลากร ผู้แทนนักศึกษา ร่วมต้อนรับ “ทีมปั่นคืนถิ่น 3 แม่โจ้ 90 ปี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน 20 คนปั่นล้านคนให้” โดยร่วมสักการะพระพิรุณทรงนาค สักการะพระรูปปั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และไหว้รูปอาจารย์ ดร.บุญรอด ศุภอุดมฤกษ์    ช่วงเย็น เวลา 18.00 น. ร่วมงานเลี้ยงต้อนรับทีมปั่นคืนถิ่น 3  โดยมีนางสุธีรา ศรีกาญจน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพยาบาล (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ) พ.ต.ท.จเร ชูแก้ว รองผู้กำกับการป้องกันปราบปรามสถานีตำรวจภูธรละแม และผู้แทนสจ.นันทภพ เอื้ออารี ร่วมต้อนรับ ณ ใต้อาคารแม่โจ้ 80 ปี      และในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. ทีมปั่นคืนถิ่น 3 ไปร่วมกิจกรรมกับทางโรงพยาบาลละแม โดยทางโรงพยาบาลละแม ได้บริการตรวจวัดความดัน บริการนวดเท้าผ่อนคลายด้วยสมุนไพรไทย บริการปรึกษาสุขภาพใจ และแช่น้ำร้อน โดยมีนายแพทย์วิษณุ อนิลบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละแม นายสมเจตน์ ทองนาแค รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง นางสาวธารีรัตน์ สุขสวัสดิ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง และเจ้าหน้าที่ร่วมต้อนรับ ณ บ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และในช่วงบ่ายวันเดียวกัน เวลา 13.00 น. ได้เข้าเยี่ยมชมโครงการไผ่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     อย่างไรก็ตาม ทีมปั่นคืนถิ่น 3 ได้มอบทุนการศึกษา “ชีวิตจิตใจมอบให้แม่โจ้” จำนวน 10,000 บาท ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อีกด้วย     กิจกรรมชมรมปั่นจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ “ปั่นคืนถิ่น 3 แม่โจ้ 90 ปี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน 20 คนปั่น ล้านคนให้”  ในครั้งนี้ นอกจากจะร่วมฉลองโอกาสที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีอายุครบ 90 ปีแล้ว ยังร่วมระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ มอบให้กับ 4 โรงพยาบาลและ 1 คณะ ดังนี้ 1.โรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา 2.โรงพยาบาลละแม จังหวัดชุมพร 3.โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ 4.โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ต้นทางอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ปลายทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ~เบตง~แม่สาย~แม่โจ้ ระยะทางรวม 2,345 กิโลเมตร
1 ธันวาคม 2566     |      382
อาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร เข้าร่วมประชุมการขับเคลื่อนการพัฒนากาแฟจังหวัดชุมพร ณ ศาลากลางจังหวัดชุมพร
       วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี ได้รับมอบหมายจากคณบดีให้เข้าประชุม เรื่อง การขับเคลื่อนการพัฒนากาแฟจังหวัดชุมพร ณ ห้องประชุมเกาะทองหลางชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุม      โดยนัยสำคัญของการประชุมเป็นเรื่องการเพิ่มผลผลิต เพิ่มพื้นทีเพาะปลูก และพัฒนาสายพันธุ์กาแฟ โรบัสต้าชุมพรที่มีคุณภาพสูงขึ้นให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์จังหวัดชุมพร ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรอยู่ในคณะกรรมการในการขับเคลื่อนด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในหัวข้อที่ 2 /2.1 ของแผน      พร้อมกันนี้ได้เข้าพบ ดร.สัญญา แก้วอนันต์ ผู้อำนวยการคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดชุมพร เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับโครงการอบกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
30 พฤศจิกายน 2566     |      230
9 เหตุผลที่ควรเลือกเรียน สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
9 เหตุผลที่ควรเลือกเรียน สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร 1.มีหลากหลายเรื่องราวให้เรียนรู้และปฎิบัติจริงในระหว่างเรียน2.ลดจำนวนหน่วยกิตลง จาก 137  หน่วยกิต เหลือ 120 หน่วยกิต (เน้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต)3.ชื่อเสียงของหลักสูตรเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ4.มีความร่วมมือด้านการเรียนการสอนและงานวิจัยกับบริษัทซีพีเอฟ (ฟาร์มละแม)5.มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่มีการปฎิบัติควบคู่กับวิชาการ เพื่อผลิตบัณฑิตที่อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดี6.ชื่อเสียงและงานวิจัยของคณาจารย์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง7.หลักสูตรมีการพัฒนาให้เข้าบริบทของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ซึ่งมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล มีความเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง8.อาจารย์ผู้สอนเป็นกันเอง ดูแลอย่างดีในทุกๆช่วงของการเรียนรู้9.สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายหลังจบการศึกษา      หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2567 รอบ TCAS 1.2 ระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2566      รายละเอียดหลักสูตร https://chumphon.mju.ac.th/wtms_webpageDetail.aspx?wID=2433      สมัครออนไลน์ >www.admissions.mju.ac.th
22 พฤศจิกายน 2566     |      359
ผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)
      วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา สว่างอารมย์ และนายชัยวิชิต เพชรศิลา นักวิชาการเกษตร เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ตามมติ ครม.เรื่องเป้าหมายและความคาดหวังต่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ด้านการวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดชุมพร ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)      อย่างไรก็ตาม การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ กลุ่มวิชาการที่เกี่ยวข้องของพื้นที่ และผู้แทนภาคประชาสังคมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐิกิจพิเศษภาคใต้ (จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ การให้ข้อมูลบริบทและสถานการณ์สำคัญของพื้นที่ และความต้องการด้านวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของพื้นที่ต่อไป
21 พฤศจิกายน 2566     |      442
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ MAGLEAD#3 "แม่โจ้-ชุมพร :การปรับ เปลี่ยน และความท้ายทาย“
      วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. ณ หาดละแมรีสอร์ท รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ MAGLEAD#3 "แม่โจ้-ชุมพร :การปรับ เปลี่ยน และความท้ายทาย“ โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าววัตถุประสงค์การจัดโครงการ พร้อมกันนี้อธิการบดี ได้นำเสนอนโยบายสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเชื่อมโยงแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต่อไป      โครงการ MAGLEAD#3 "แม่โจ้-ชุมพร :การปรับ เปลี่ยน และความท้ายทาย“ จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อน Well-being แม่โจ้-ชุมพร โดยมีตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจและเครือข่ายศิษย์เก่าเข้าร่วม และมีดร.วัชรวิชญ์ กีรติดุสิตโรจน์ ประธานบริหารบริษัทฮาร์วาดเอเชียคอนซัลติ้ง จำกัด เป็นวิทยากร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2566 ณ หาดละแมรีสอร์ท อำเภอละแม จังหวัดชุมพร      อย่างไรก็ตาม การเสนวนาในครั้ง ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนายวรุณศิริ สุจินดา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษเข้าร่วม
20 พฤศจิกายน 2566     |      271
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วนและคณะได้รับเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมกิจกรรมประสานงานเพื่อเตรียมความพร้อมการใช้แแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเส้นทางท่องเที่ยวศุทรา ชุมพร - ระนอง
      วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ฐิติมา ศรีพร อาจารย์ฉัตรนลิน แก้วสม และอาจารย์ ดร.พิไลวรรณ พู่พัฒนศิลป์ ได้รับเชิญจากสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมกิจกรรมประสานงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้แแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเส้นทางท่องเที่ยวศุทรา ชุมพร - ระนอง ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ ณ วัดพระบรมธาตุสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร พร้อมกับหารือแนวทางการทำความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย โดยมี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ วิทยาลัยชุมชนระนอง สมาคมประชาสังคมชุมพร และเครือข่ายการท่องเที่ยว
9 พฤศจิกายน 2566     |      247
กิจกรรมสัมมนาสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
      วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30-12.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมสัมมนาสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ โดยนักศึกษาได้นำเสนอและรายงานผลการปฎิบัติสหกิจศึกษา ตามลำดับ ดังนี้       1.บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) ฟาร์มละแม โดยนายณัฐพร หอกแสง      2.บริษัทมรกตฟาร์ม จำกัด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร นายขจรศักดิ์ เพชรโสม และนายศุภกิจ สรรพากร      3.ฟาร์มกุ้งอ่าวค้อ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร นายนิติภัฑร์ อับดุลบุตร และนายวรกานต์ ชื่นอารมย์      4.สถานีวิจัยคลองวาฬ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย นายสรศักดิ์ เชื้อบ่อคา และนายอชิตศักดิ์ สงค์ดำ      อย่างไรก็ตาม ในการสัมมนาสหกิจศึกษาในครั้งนี้ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา สว่างอารมย์ อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์  และอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น เข้าร่วมกับฟังพร้อมให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษาต่อไป
10 พฤศจิกายน 2566     |      344
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน ได้รับเชิญจากธนาคารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นวิทยากรบรรยายการอบรมกิจกรรม เพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จของ SME ไทย
      วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2566 อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ ได้รับเชิญจากธนาคารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้เป็นวิทยากรบรรยายการอบรมกิจกรรม เพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จของ SME ไทย ภายใต้โครงการยกระดับลูกค้าให้เป็น SME เกษตรหัวขบวนปีบัญชี 2566 ณ ธ.ก.ส. อาคารประชาชื่น กรุงเทพมหานคร และถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์ไปยังฝ่ายกิจการสาขา สนจ.และธ.ก.ส. สาขาทั่วประเทศโดยบรรยายในหัวข้อเรื่องการตลาดแบบ Smart SME และร่วมถอดบทเรียนช่องทางการขายและการสร้างเครือข่ายทางการค้า กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 1,500 คนจากทั่วประเทศ
9 พฤศจิกายน 2566     |      230
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดระบบรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ปีการศึกษา 2567 TCAS 1.2
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดระบบรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ปีการศึกษา 2567 TCAS 1.2 รับสมัครระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2566 หลักสูตร 4 ปี      1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ      2.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      3.สาขาวิชาพืชศาสตร์หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน (2 ปี) ปกติ      1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ      2.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      3.สาขาวิชาพืชศาสตร์หลักสูตร 4 ปีเทียบ (2 ปี) เรียนออนไลน์      1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ      สำหรับสาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการและสาขาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น จะเปิดรับสมัครรอบ 2 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ทั้งนี้สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ทุกช่องทางการติดต่อของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรหลักสูตร 4 ปี GPAX 4 เทอม หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง GPAX 2 เทอม : สมัครออนไลน์ www.admissions.mju.ac.th
1 พฤศจิกายน 2566     |      528
ผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีวางพวงมาลาในงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย”
      วันที่ 30 ตุลาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร รองประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่นและนางชไมพร ตันสุวรรณ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ศูนย์ประสานงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร) ร่วมพิธีวางพวงมาลา เพื่อรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย โดยมี ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธาน      ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเป็นบุคคลต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
31 ตุลาคม 2566     |      238
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร คว้ารางวัลชนะเลิศเรือพระบก ประเภทความคิดสร้างสรรค์ขนาดเล็ก ในงานประเพณีแห่พระแข่งเรือ ขึ้นโขนชิงธง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ แห่งลุ่มน้ำหลังสวน ปีที่ 180
      วันที่ 30 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานงานประเพณีแห่พระแข่งเรือ ขึ้นโขนชิงธง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ แห่งลุ่มน้ำหลังสวน ปีที่ 180  นำโดยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ นายสานิตย์ แป้นเหลือ นักวิชาการศึกษา และนางสาวศุจินธร รัตนิพนธ์ นักวิชาการศึกษา และนักศึกษาเข้าร่วมขบวนแห่เรือพระบก ในงานประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง ชิงโล่และถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2566 ณ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขบวนกับวัดปากน้ำละแม       ทั้งนี้ ในการเข้าร่วมขบวนแห่เรือพระบก ดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับรางวัลชนะเลิศเรือพระบก ประเภทความคิดสร้างสรรค์ ขนาดเล็ก      อย่างไรก็ตาม งานประเพณีแห่พระแข่งเรือ ขึ้นโขนชิงธง ชิงโล่และถ้วยพระราชทาน มรดกวัฒนธรรมแห่งลุ่มน้ำหลังสวน ประจำปี 2566  ปีที่ 180 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน 2566 ณสนามแข่งขันกลางภาคใต้แม่น้ำหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
31 ตุลาคม 2566     |      319
ตกแต่งเรือพระบก ร่วมสืบสานวัฒนธรรมลุ่มน้ำหลังสวน ขึ้นโขนชิงธง หนึ่งในสยาม ประจำปี 2566
      วันที่ 28 ตุลาคม 2566 นายสานิตย์ แป้นเหลือ นักวิชาการศึกษา พร้อมด้วยนางสาวศุจินธร รัตนิพนธ์ นักวิชาการศึกษา นำผู้แทนนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกันตกแต่งเรือพระบก ณ วัดปากน้ำละแม โดยมีอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ประสานงานและดูแลความเรียบร้อย      ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรและวัดปากน้ำละแมจะเข้าร่วมขบวนแห่เรือพระบก ในงานประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง ชิงโล่และถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2566 ณ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ในวันจันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2566 ต่อไป
30 ตุลาคม 2566     |      329
ผู้แทนบริษัท แอพลิเทค โซลูชั่น จำกัด เข้าพบผู้บริหารเพื่อนำเสนอแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ มาตรฐาน CEFR
      วันที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น. ที่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ และดร.ณรงค์ โยธิน นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ชำนาญการ (รักษาการหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ) ให้การต้อนรับนายเตวิช มัชฌิมา ผู้แทนบริษัท แอพลิเทค โซลูชั่น จำกัด พร้อมรับฟังการนำเสนอแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ มาตรฐาน CEFR      ทั้งนี้ แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ มาตรฐาน CEFR ดังกล่าว มีองค์ประกอบหลักประกอบด้วย แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบ Adaptive ตามมาตรฐาน CEFRกิจกรรม Macro Learning ตามหลักสูตร CEFR ไม่จำกัดเวลาเรียน ไม่จำกัดระดับการเรียนรู้ กิจกรรม Micro Learning ด้วยเทคโนโลยี AI ที่ปรับให้สอดคล้องตามความชอบของผู้เรียนแต่ละราย 4. การฝึกเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะ ระบบ AI ติวเตอร์ริงรายบุคคลแบบทดสอบการผ่านระดับ พร้อมวุฒิบัตรรับรองการสำเร็จหลักสูตร CEFR
30 ตุลาคม 2566     |      395
อาจารย์ ดร.จิรศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เข้าร่วมประชุมการพัฒนาทุเรียนคุณภาพ ประจำปี 2567
      วันที่ 25 ตุลาคม 2566 อาจารย์ ดร.จิรศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมร่วมกับ คณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร ณ ห้องประชุมเกาะลังกาจิว ศาลากลางจังหวัดชุมพร โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุม พร้อมทั้งได้วางแนวทางการพัฒนาทุเรียนชุมพร ให้มีความเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป      ทั้งนี้ การประชุมการพัฒนาทุเรียนจังหวัดชุมพร เป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพร โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพรต่อไป
27 ตุลาคม 2566     |      270
ผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าหารือวางแผนเตรียมต้อนรับทีมปั่นคืนถิ่นแม่โจ้ 90 ปี ร่วมกับโรงพยาบาลละแม
      วันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 11.00 น. ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลละแม ดร.ณรงค์ โยธิน นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ชำนาญการ (รักษาการหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ) พร้อมด้วยนางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เข้าพบผู้บริหารโรงพยาบาลละแม ประชาสัมพันธ์และหารือวางแผนต้อนรับทีมปั่นคืนถิ่น 3 แม่โจ้ 90 ปี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน 20 คนปั่น ล้านคนให้เบตง-แม่สาย-แม่โจ้      ในการเข้าหารือครั้งนี้ มีนายแพทย์วิษณุ อนิลบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละแม นางสุธีรา ศรีกาญจน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพยาบาล (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ) และเจ้าหน้าที่ร่วมต้อนรับและพูดคุยวางแผนต้อนรับทีมปั่นคืนถิ่นแม่โจ้ 90 ปีฯ     ทั้งนี้ นางสุธีรา ศรีกาญจน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพยาบาล (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ) เสนอให้ทางมหาวิทยาลัยวางแผนกิจกรรมต้อนรับ พร้อมนัดประชุมหัวหน้าส่วนราชการและศิษย์เก่าแม่โจ้ต่อไป
23 ตุลาคม 2566     |      232
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าแม่โจ้ ที่ได้รับอนุมัติ ปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ ประจำปี ๒๕๖๖
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าแม่โจ้ ที่ได้รับอนุมัติ ปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ ประจำปี ๒๕๖๖       ๑.นายโชตินรินทร์ เกิดสม ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น ๕๓ สาขาวิชาเศรษศาสตร์สหกรณ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับอนุมัติ ปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๖ จากสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้      ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ ๗/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖      ๒.นายถาวร สงคราม ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น ๕๔ สาขาวิชาเศรษศาสตร์สหกรณ์ ประธานบริษัทโอท็อป-มาดเท่ จำกัดได้รับอนุมัติ ปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษศาสตร์ประยุกต์ ประจำปี ๒๕๖๖ จากสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้      ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ ๗/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
23 ตุลาคม 2566     |      278
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรในโอกาสได้รับการแต่งตั้งเป็นรองคณบดีและผู้ช่วยคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
      ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรในโอกาสได้รับการแต่งตั้งเป็นรองคณบดีและผู้ช่วยคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     1.อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น ได้รับการแต่งตั้งเป็น รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ (ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ ๑๓๑๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๖)     2.อาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ ๑๓๑๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๖)
18 ตุลาคม 2566     |      318
ผู้แทนบริษัท ซีเฟรชอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่างบริษัทกับมหาวิทยาลัย
      วันที่ 17 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 น.  นายไพโรจน์ ยางทาง รองประธานสายงานปฎิบัติการ และนางเบ็ญจพร ชวลิตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ซีเฟรชอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)  เข้าพบผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่างบริษัทกับมหาวิทยาลัย      ในการหารือในครั้งนี้ มีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ และดร.ณรงค์ โยธิน นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ชำนาญการ (รักษาการหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ) ร่วมต้อนรับและพูดคุยหารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่างบริษัทซีเฟรชอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อาทิ การรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน ฝึกสหกิจศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางด้านวิชาการ ณ ห้องประชุมเล็ก อาคารบุญรอด ศุภอุดมกฤษ์
17 ตุลาคม 2566     |      364
ขยายเวลาการรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ (ภาษาอังกฤษ)
      ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง ขยายเวลาการรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ (ภาษาอังกฤษ) ตำแหน่งเลขที่ 1210 สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 1 อัตราวุฒิปริญญาเอกหรือปริญญาโท ทางด้านภาษาอังกฤษ ภาษาประยุกต์ ภาษาต่างประเทศ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อัตราค่าจ้าง      วุฒิปริญญาเอก อัตราเงินเดือนๆละ 34,000 บาท      วุฒิปริญญาโท อัตราเงินเดือนๆละ 26,880 บาทเปิดรับสมัครถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2566สอบถามเพิ่มเติม 077- 544 068รายละเอียด >https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25661016124830_308731.pdf
16 ตุลาคม 2566     |      395
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม
      วันที่ 13 ตุลาคม 2566 เวลา 07.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยบุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์เนื่องในวันนวมินทรมหาราช (วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอละแม จังหวัดชุมพร       จากนั้น เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี บุคลากรและผู้แทนนักศึกษา ร่วมพิธีวางพวงมาลาเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ ศาลาประชาคมอำเภอละแม โดยมีนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธี
13 ตุลาคม 2566     |      262
สมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร เข้ารับการอบรมหลักสูตร “สกัดสารจากพืชสมุนไพรอย่างง่าย”
      วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ พร้อมด้วยนายชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย นายสุวินัย เลาวิลาศ นักวิชาการศึกษา ให้การต้อนรับสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ในการเข้ารับการอบรมหลักสูตร “สกัดสารจากพืชสมุนไพรอย่างง่าย” โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ และนักศึกษา เป็นวิทยากรให้ความรู้ มีคณะครูและนักเรียนจากเขตอำเภอท่าแซะและอำเภอละแม ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านคันธทรัพย์  โรงเรียนบ้านเหมืองทอง และโรงเรียนสามัคคีวัฒนา เข้าร่วม      พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ ได้มอบเครื่องมือวัดคุณภาพดิน จำนวน 3 เครื่อง ให้แก่โรงเรียนที่เข้ารับการอบรม      อย่างไรก็ตาม การอบรมดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากคลินิกเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร
7 ตุลาคม 2566     |      330
สอบวัดสมิทธิภาพทั่วไปทางด้านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษา และบุคลากร ประจำปี 2566
 วิทยาลัยนานาชาติ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดสอบวัดสมิทธิภาพทั่วไปทางด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่นักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ประจำปีงบประมาณ 2566 ในวันอังคาร ที่ 10 ตุลาคม 2566     เวลา 10.00-12.00 น. (สำหรับนักศึกษารหัส 63 และ 64) อาคารเรียนรวม 80 ปี ห้อง 200 ที่นั่ง    เวลา 13.00-15.00 น. (สำหรับนักศึกษารหัส 65 และ 66) อาคารเรียนรวม 80 ปี ห้อง 200 ที่นั่ง    เวลา 09.00-12.00 น. (สำหรับบุคลากรสายวิชาการ) อาคารเรียนรวม 80 ปี ห้องคอมพิวเตอร์ 2    เวลา 13.00-15.00 น. (สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ) อาคารเรียนรวม 80 ปี ห้องคอมพิวเตอร์ 2     สอบถามเพิ่มเติม : คุณพรลภัส พงษ์พานิช 080 535 9909                           คุณประภัย สุขอิน 091 067 6479
6 ตุลาคม 2566     |      355
อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน เป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตรเพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จของ SME ไทย ภายใต้โครงการยกระดับลูกค้าให้เป็น SME เกษตรหัวขบวน ปีบัญชี 2566
      วันที่ 3 ตุลาคม 2566 อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ ได้รับเชิญจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนร่วมกับ สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรเพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จของ SME ไทย ภายใต้โครงการยกระดับลูกค้าให้เป็น SME เกษตรหัวขบวน ปีบัญชี 2566 ณ โรงแรมปุระนคร อำเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
5 ตุลาคม 2566     |      242
กำหนดการสอบวัดความรู้ความสามารถด้าน ICT มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
   กำหนดการสอบวัดความรู้ความสามารถด้าน ICT มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร       นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร สมัครสอบได้แล้ววันนี้ – วันที่ 6 ตุลาคม 2566 (ก่อนเวลา 12.00 น.)ได้ที่ลิงก์  https://maejo.link?L=5Egj       กำหนดการสอบ วันที่ 11 – 12 , 18 - 19 ตุลาคม 2566                     เลือกสอบช่วงเช้า เวลา    10.00 – 11.30 น.                     เลือกสอบช่วงบ่าย เวลา   13.00 – 14.30 น.     ณ ห้องคอมพิวเตอร์ 2 (ชั้น 2) อาคารเรียนรวมแม่โจ้ 80 ปี หมายเหตุ  เมื่อมีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ให้นักศึกษาเลือกลง วัน และช่วงเวลาสอบได้ที่ห้องบริการการศึกษา (ชั้น 1) อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์
4 ตุลาคม 2566     |      339
MAEJO TOUR : ชุมชนท่องเที่ยว นวัตวิถี ที่นี้ละเเม เรียนรู้เส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
      วันที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 07.50 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานอาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ นำนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรม MAEJO TOUR : ชุมชนท่องเที่ยว นวัตวิถี ที่นี้ละเเม เรียนรู้เส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยเริ่มต้นเรียนรู้เส้นทางการท่องเที่ยว ณ บ้านสวนภูวรินทร์ ชมสวนเกษตรแบบผสมผสาน ชมการสาธิตการทำขนมปังโฮลเมด ต่อด้วยศึกษาพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ชมธรรมชาติ 180 องศา ณ วัดทุ่งหลวง ร่วมกิจกรรมการเพาะเลี้ยงเชื้อและชมสวนผลไม้ ณ สวนเกษตรบ้านแม่พร และรับประทานอาหารกลางวัน รวมทั้งเรียนรู้ชนิดพันธุ์ไผ่ กิจกรรมตอนกิ่งไผ่ ณ สวนนางฟ้ากลางป่าไผ่       ส่วนในช่วงบ่าย เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง การปลูกข้าวไร่และชมสวนกินบุฟเฟ่ต์ผลไม้  ณ บ้านสวนบุญเลี้ยง และปิดท้ายกิจกรรมด้วยการศึกษาเส้นทางธรรมชาติและแช่น้ำร้อน ณ ถ้ำเขาพลู ตำบลสวนแตง      อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าว ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก นักศึกษาได้เรียนรู้เส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ได้เรียนรู้กระบวนการการมีส่วนร่าวมและบทบาทของชุมชนต่อการท่องเที่ยว ตลอดจนได้ฝึกทักษะการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ  สร้างความมั่นใจในการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำได้ต่อไป
2 ตุลาคม 2566     |      454