มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

























ipv6

 

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

สวัสดีปีใหม่ไทย ๒๕๖๗
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย และเล่นน้ำสงกรานต์ตามประเพณี      สงกรานต์สุขใจ “ดื่มไม่ขับ ง่วงจอดพัก เล่นสาดน้ำด้วยความระวัง”      ประวัติวันสงกรานต์ หรือ วันมหาสงกรานต์ ได้รับอิทธิพลมาจาก “เทศกาลโฮลี” ของประเทศอินเดีย แต่วันสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนจากการสาดสี เป็นการสาดน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนในเดือนเมษายน และในอีกแง่หนึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ดังนั้น การเล่นสาดน้ำและประแป้งกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะไม่ถือโทษโกรธกัน       คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า “การเคลื่อนย้าย” โดยเชื่อว่าในวันสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนย้ายของจักรราศี อีกนัยหนึ่งก็คือการเคลื่อนสู่ปีใหม่ คนไทยจึงยึดถือวันสงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย” มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ การละเล่นสงกรานต์ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว รวมถึงบางพื้นที่ของเวียดนาม จีน ศรีลังกา และอินเดีย       กิจกรรมช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ นิยมทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำ ประแป้ง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ คนทำงานต่างจังหวัดหรือไกลครอบครัว ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อฉลองวันปีใหม่ไทย รวมถึงกล่าวคำอวยพร “สุขสันต์วันสงกรานต์” และ “สวัสดีวันสงกรานต์” ให้แก่กัน นอกจากนี้ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับจัดงานเทศกาลสงกรานต์ ก็สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้วันสงกรานต์ของไทยมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก       อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา      ทั้งนี้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” (Khon, masked dance drama in Thailand) ในปี 2561, “นวดไทย” (Nuad Thai, Traditional Thai Massage) ในปี 2562 และ “โนรา” ของภาคใต้ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) ในปี 2564
13 เมษายน 2567
ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา TCAS2567 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )
ใกล้สงกรานต์ เล่นสาดน้ำกันเพลิน อย่าลืมสมัครเรียนนะคะTCAS67 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ)      1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ/ออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เรียนออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ      เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 5-30 เมษายน 2567      สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 080 535 9909      หรือสอบถามเพิ่ม inbox แฟนเพจมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร)      สมัครออนไลน์ :https://admissions.mju.ac.th
11 เมษายน 2567
ดร.วีรภรณ์ โตคีรี ศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูลนิธิศิลาธัมภ์
      วันที่ 3- 5 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูนิธิศิลาธัมภ์     โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการและพัฒนาโจทย์วิจัยอาหารเป็นยาและพัฒนาการผลิตกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ ตลอดจนร่วมหารือแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเครือข่ายสาขาการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ป่า อันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวต่อไป       อย่างไรก็ตาม ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น จากคณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวอย่างดียิ่ง
7 เมษายน 2567
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทองแก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด
      วันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และสาขาพืชวิชาพืชศาสตร์ ร่วมต้อนรับนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร       ทั้งนี้ ในการมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ดังกล่าวนั้น ได้รับเกียรติจากนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบ พร้อมด้วยนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวรัตน์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 1 นายสันต์ แซ่ตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 2 นายสุพล จุลใส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 3 นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดชุมพรเข้าร่วม      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์และตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสาขาพืชศาสตร์ ได้จัดนิทรรศการบริการวิชาการเกี่ยวกับปลูกกล้วยหอมทองส่งออกญี่ปุ่น การดูแล การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของกล้วยหอมทอง และผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
9 เมษายน 2567
ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 13.30-16.00 น. อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์  ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เป็นผู้แทนคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567 เพื่อติดตามสถานการณ์ทุเรียน ขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าทุเรียน ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GAP พืช และการควบคุมแผงจำหน่ายทุเรียนริมทาง โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเกาะทองหลาง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาทุเรียนจังหวัดชุมพรแบบครบวงจร ทั้งเรื่องการผลิตและคุณภาพทุเรียน กำหนดช่วงวันเก็บเกี่ยวทุเรียนหมอนทอง ในวันที่ 20 มิถุนายน 2567 พร้อมวางมาตรการป้องกันทุเรียนอ่อน และการออกใบรับรองมาตรฐาน GAP ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน
5 เมษายน 2567
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ สุราษฎร์ธานี
      วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 08.30-16.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์  เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ จัดโดยหน่วย บริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ณ ห้องบรรจงแกรนด์บอลรูม 2 โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
5 เมษายน 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร “ปลูกโทะ” สนองพระราชดำริ โครงการ อพ.สธ. เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
      วันที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 09.30 ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา ร่วมปลูกโทะ (ต้นโทะ) พันธุกรรมพืชท้องถิ่นของชุมพร สนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมปลูกโทะ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน      อย่างไรก็ตาม “ต้นโทะ” (Rhodomyrtus tomentosa) พืชในวงศ์ชมพู่ ผลของลูกโทะ มีสีม่วง อันเป็นสีประจำพระชนมวารของพระองค์ โทะดอกสวย เนื้อไม้แข็งแรง ผล สามารถกินสด หรือแปรรูป เช่น ทำวุ้น ทำแยม ย้อมผ้า เป็นต้น
2 เมษายน 2567
ดร.วีรภรณ์ โตคีรี ศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูลนิธิศิลาธัมภ์
      วันที่ 3- 5 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูนิธิศิลาธัมภ์     โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการและพัฒนาโจทย์วิจัยอาหารเป็นยาและพัฒนาการผลิตกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ ตลอดจนร่วมหารือแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเครือข่ายสาขาการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ป่า อันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวต่อไป       อย่างไรก็ตาม ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น จากคณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวอย่างดียิ่ง
7 เมษายน 2567
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทองแก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด
      วันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และสาขาพืชวิชาพืชศาสตร์ ร่วมต้อนรับนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร       ทั้งนี้ ในการมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ดังกล่าวนั้น ได้รับเกียรติจากนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบ พร้อมด้วยนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวรัตน์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 1 นายสันต์ แซ่ตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 2 นายสุพล จุลใส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 3 นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดชุมพรเข้าร่วม      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์และตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสาขาพืชศาสตร์ ได้จัดนิทรรศการบริการวิชาการเกี่ยวกับปลูกกล้วยหอมทองส่งออกญี่ปุ่น การดูแล การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของกล้วยหอมทอง และผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
9 เมษายน 2567
ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 13.30-16.00 น. อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์  ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เป็นผู้แทนคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567 เพื่อติดตามสถานการณ์ทุเรียน ขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าทุเรียน ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GAP พืช และการควบคุมแผงจำหน่ายทุเรียนริมทาง โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเกาะทองหลาง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาทุเรียนจังหวัดชุมพรแบบครบวงจร ทั้งเรื่องการผลิตและคุณภาพทุเรียน กำหนดช่วงวันเก็บเกี่ยวทุเรียนหมอนทอง ในวันที่ 20 มิถุนายน 2567 พร้อมวางมาตรการป้องกันทุเรียนอ่อน และการออกใบรับรองมาตรฐาน GAP ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน
5 เมษายน 2567
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ สุราษฎร์ธานี
      วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 08.30-16.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์  เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ จัดโดยหน่วย บริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ณ ห้องบรรจงแกรนด์บอลรูม 2 โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
5 เมษายน 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร “ปลูกโทะ” สนองพระราชดำริ โครงการ อพ.สธ. เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
      วันที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 09.30 ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา ร่วมปลูกโทะ (ต้นโทะ) พันธุกรรมพืชท้องถิ่นของชุมพร สนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมปลูกโทะ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน      อย่างไรก็ตาม “ต้นโทะ” (Rhodomyrtus tomentosa) พืชในวงศ์ชมพู่ ผลของลูกโทะ มีสีม่วง อันเป็นสีประจำพระชนมวารของพระองค์ โทะดอกสวย เนื้อไม้แข็งแรง ผล สามารถกินสด หรือแปรรูป เช่น ทำวุ้น ทำแยม ย้อมผ้า เป็นต้น
2 เมษายน 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน " เปิดเมืองกินฟรี Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2"
      วันที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน และผู้แทนนักศึกษาสาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอละแม จังหวัดชุมพร "Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2" ณ บริเวณชายทะเลหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิด >      พร้อมกันนี้ ได้นำลูกชิ้นทอด ตือคาโค น้ำโกโก้ น้ำเก็กฮวย และน้ำดื่ม บริการผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดเมืองกินฟรีอีกด้วย      อย่างไรก็ตาม งาน "Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2" จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ร่วมกับอำเภอละแมและชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอละแม
2 เมษายน 2567
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3
      วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงานต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจากนายนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม  และได้รับเกียรติจากนายมรกต วัชรมุสิก วิทยากร อพ.สธ.สวนจิตรลดา และคณะวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช      ทั้งนี้มีหน่วยงานองค์การปกครองท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง ได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 68 คน
26 มีนาคม 2567
สวัสดีปีใหม่ไทย ๒๕๖๗
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย และเล่นน้ำสงกรานต์ตามประเพณี      สงกรานต์สุขใจ “ดื่มไม่ขับ ง่วงจอดพัก เล่นสาดน้ำด้วยความระวัง”      ประวัติวันสงกรานต์ หรือ วันมหาสงกรานต์ ได้รับอิทธิพลมาจาก “เทศกาลโฮลี” ของประเทศอินเดีย แต่วันสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนจากการสาดสี เป็นการสาดน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนในเดือนเมษายน และในอีกแง่หนึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ดังนั้น การเล่นสาดน้ำและประแป้งกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะไม่ถือโทษโกรธกัน       คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า “การเคลื่อนย้าย” โดยเชื่อว่าในวันสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนย้ายของจักรราศี อีกนัยหนึ่งก็คือการเคลื่อนสู่ปีใหม่ คนไทยจึงยึดถือวันสงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย” มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ การละเล่นสงกรานต์ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว รวมถึงบางพื้นที่ของเวียดนาม จีน ศรีลังกา และอินเดีย       กิจกรรมช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ นิยมทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำ ประแป้ง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ คนทำงานต่างจังหวัดหรือไกลครอบครัว ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อฉลองวันปีใหม่ไทย รวมถึงกล่าวคำอวยพร “สุขสันต์วันสงกรานต์” และ “สวัสดีวันสงกรานต์” ให้แก่กัน นอกจากนี้ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับจัดงานเทศกาลสงกรานต์ ก็สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้วันสงกรานต์ของไทยมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก       อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา      ทั้งนี้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” (Khon, masked dance drama in Thailand) ในปี 2561, “นวดไทย” (Nuad Thai, Traditional Thai Massage) ในปี 2562 และ “โนรา” ของภาคใต้ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) ในปี 2564
13 เมษายน 2567
ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา TCAS2567 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )
ใกล้สงกรานต์ เล่นสาดน้ำกันเพลิน อย่าลืมสมัครเรียนนะคะTCAS67 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ)      1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ/ออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เรียนออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ      เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 5-30 เมษายน 2567      สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 080 535 9909      หรือสอบถามเพิ่ม inbox แฟนเพจมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร)      สมัครออนไลน์ :https://admissions.mju.ac.th
11 เมษายน 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับสมัครนักศึกษาใหม่ 2 วันสุดท้าย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 (TCAS67 รอบ 2 ) 2 วันสุดท้ายหลักสูตร 4 ปี      1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์      3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (เรียนปกติ)      1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์      3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (เรียนออนไลน์)      1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ      เปิดรับสมัคร : วันนี้ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2567      สอบถามเพิ่มเติม : 080 535 9909      สมัครออนไลน์ :www.admissions.mju.ac.th
14 มีนาคม 2567
โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2566 “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน”
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กำหนดจัดโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2566 “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน” วันพฤหัสบดี ที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 08.30-17.00 น. ณ อาคารคาวบอย 3       1.พิธีแสดงความกตัญญูกตเวทีแด่อาจารย์ “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน” บรรยาย “ความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน” โดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร      2.บรรยาย “การเขียน Resume อย่างไรให้ได้งาน เทคนิคการแต่งกายและสัมภาษณ์งาน” โดยอจาจารย์ ดร.จุฑามาศ เพ็งโคนา       3.เสวนา “พร้อมไหม จบไปต้องทำงานหรือศึกษาต่อ” โดยผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู ,อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์,อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น,อาจารย์ ดร.ฐิติมา ศรีพร       4. ชี้แจงทำความเข้าใจ “ว่าที่บัณฑิตใหม่ เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร” โดยดร.ณรงค์ โยธิน
13 มีนาคม 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 TCAS รอบ 2
  มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 TCAS รอบ 2หลักสูตร 4 ปี 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ 3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (เรียนปกติ) 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ 3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (เรียนออนไลน์)       1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ      เปิดรับสมัคร : วันที่ 15 ก.พ. - 15 มี.ค. 2567 ที่ www.admissions.mju.ac.th      อ่านคุณสมบัติผู้สมัคร : สำหรับ ม.6 /ปวช./กศน./GED : หลักสูตร 4-5 ปี GPAX 5 เทอม : https://admissions.mju.ac.th/www/Project.aspx?Acadyear=MjU2Nw==&RoundID=MjQ=&StudyYear=NA==      สำหรับ ปวส. หรือเทียบเท่า : หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง GPAX 3 เทอม : https://admissions.mju.ac.th/www/Project.aspx?Acadyear=MjU2Nw==&RoundID=MzA=&StudyYear=Mg==
15 กุมภาพันธ์ 2567
ขอเชิญร่วมการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ “สิงห์เหนือ-เสือใต้ ครั้งที่ 16“
      ขอเชิญร่วมการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ “สิงห์เหนือ-เสือใต้ ครั้งที่ 16“ และงานเลี้ยงสานสัมพันธ์แม่โจ้ ลาดกระบัง ในวันศุกร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สนามกีฬา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร "เสือใต้“ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของ ”สิงห์เหนือ“ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) โดยมีการแข่งขัน ฟุตซอลบุคลากรชาย, ฟุตซอลนักศึกษาชาย, วอลเลย์บอลนักศึกษาหญิง,เปตอง และกีฬาพื้นบ้าน       09.00 น. พิธีเปิด โดยนายอำเภอละแม (นายสุนทร จอมเมือง)       10.00 น. เริ่มแข่งขันกีฬา       16.00-20.00 น. งานเลี้ยงสานสัมพันธ์ แม่โจ้ ลาดกระบัง ครั้งที่ 16      มาร่วมลุ้นและส่งแรงใจเชียร์นักกีฬา หนึ่งปีมีเพียงแค่ครั้งเดียว พลาดไม่ได้ แล้วพบกันนะครับ
5 กุมภาพันธ์ 2567
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างปรับปรุงกลุ่มอาคารเรียนปฏิบัติการและบริการวิชาการสำหรับการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 พร้อมครุภัณฑ์ ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยวิธีคัดเลือก
29/9/2566 17:37:13
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาประกวดราคาซื้อรถตู้โดยสารขนาดไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่งจำนวน1คัน
4/7/2566 14:17:57
ประกาศประกวดราคาซื้อรถตู้โดยสาร ไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
23/6/2566 12:01:43
ประกวดราคาจ้างปรับปรุงกลุ่มอาคารเรียนปฏิบัติการและบริการวิชาการสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ พร้อมครุภัณฑ์ ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร (ครั้งที่ 2)
23/6/2566 15:18:35
ประกาศประกวดราคาซื้อรถตู้โดยสาร ไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
23/3/2566 16:52:53
ประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์แปรรูปโกโก้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑ ชุด ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
9/3/2566 10:04:23
ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง ยกเลิกโครงการประกวดราคาจ้างปรับปรุงกลุ่มอาคารเรียนปฎิบัติการและบริการวิชาการสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พร้อมครุภัณฑ์ ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
2/3/2566 11:59:16
ประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์ปฏิบัติการทางการเกษตร ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
7/2/2566 17:09:33
ประกวดราคาจ้างปรับปรุงกลุ่มอาคารเรียนปฏิบัติการและบริการวิชาการสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ พร้อมครุภัณฑ์ ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
22/12/2565 16:45:46
ประกาศเผยแพร่แผนจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
10/11/2565 16:24:46
ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการใช้ห้องประชุม ห้องปฎิบัติการ และอุปกรณ์ต่างๆ
20/7/2566 9:10:59
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาประกวดราคาซื้อรถตู้โดยสารขนาดไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่งจำนวน1คัน
4/7/2566 14:17:57
เปิดรับสมัครสอบอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
26/4/2566 14:55:51
ประกาศประกวดราคาซื้อรถตู้โดยสาร ไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
23/3/2566 16:52:53
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์แปรรูปโกโก้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑ ชุด ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
16/3/2566 16:24:12
ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พศ.2566
16/3/2566 16:19:00
ประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์แปรรูปโกโก้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑ ชุด ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
9/3/2566 10:04:23
ประกาศเผยแพร่จัดซื้อจัดจ้างงประจำปีงบประมาณ 2564 เผยแพร่แผนก่อสร้างรั้วคาวบอย
13/9/2564 15:48:13
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการประเมินผลการอบรมหลักสูตรวิชามัคคุเทศก์เฉพาะภูมิภาค (ภาคใต้) รุ่นที่ 2
9/9/2564 10:22:00
ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เรื่อง การรับสมัครบุคคลเพื่อจ้างเหมาบริการ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) รอบที่ 1 (เพิ่มเติม) ครั้งที่ 5
1/2/2564 18:45:30
ข่าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้

NBCRC คณะนักวิจัย