มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

       วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรฝ่ายยุทธศาสตร์ บริการวิชาการและวิจัย ได้รับมอบหมายจาก อาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลประเด็นการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล : การท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดชุมพร คณะผู้ตรวจราชการ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เพื่อตรวจราชการแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รอบที่ 1 นำโดย นายนพพร บุญแก้ว ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย, นางสาวเจริญวรรณ หนูนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, นายแพทย์กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข, ดร.ปรเมศวร์ ศิริรัตน์ ศึกษาธิการภาค 5, นางอุบล ทองสลับล้วน อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ,นายธนวัฒน์ พันธุ์สนิท ปศุสัตว์ เขต 8 เพื่อตรวจติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร, นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ พร้อมรายงานข้อมูล และผลการดำเนินงาน

      ซึ่งตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ของคณะผู้ตรวจราชการในครั้งนี้ ได้ตรวจติดตามโครงการด้านการท่องเที่ยว โครงการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และการตรวจราชการตามมาตรา 55 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่ แบบบูรณาการ พ.ศ.2565 โดยเป็นการตรวจติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาภาค แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของกลุ่มจังหวัด รวมทั้งการบริหารงบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นอกจากนี้ คณะผู้ตรวจราชการได้ตรวจติดตามงานอื่น อาทิ การตรวจติดตามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี, การตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาสิ่งปลูกสร้างของส่วนราชการที่ใช้งบประมาณแผ่นดิน, การตรวจติดตามการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่

      หลังจากประชุมติดตามโครงการของจังหวัด คณะผู้ตรวจราชการ ได้เดินทางลงพื้นที่ วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบางสน ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เพื่อติดตามการดำเนินงานการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ และรับทราบปัญหาอุปสรรค จากนั้นคณะผู้ตรวจราชการ ได้ตรวจติดตามประเมินศูนย์ราชการสะดวก (GECC) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาปะทิว และการประปาส่วนภูมิภาคสาขาท่าแซะ ก่อนเดินทางต่อไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ปรับปรุงข้อมูล : 28/2/2566 10:59:19     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 331

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

โค้งสุดท้าย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน ต่อเนื่อง 2 ปี เปิดรับสมัครออนไลน์ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ)        1.สาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง : รับผู้ที่จบประเภทวิชาประมง เกษตรกรรม สัตวศาสตร์ สัตวรักษ์ เท่านั้น        2.สาขาวิชาพืชศาสตร์ : รับผู้ที่จบประเภทวิชาเกษตรกรรม พืชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เท่านั้นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ หรือเรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์)        1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ : รับผู้ที่จบประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ คหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เรียนออนไลน์ เสาร์-อาทิตย์)        1.สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ : รับผู้ที่จบประเภทวิชาบริหาร การจัดการ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สมัครออนไลน์ : www.admissions.mju.ac.th สอบถามเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา : 080 535 9909
24 เมษายน 2567     |      27
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
      วันที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดีฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการฝึกปฏิบัติและเสริมประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ระหว่างวันที่ 22-30 เมษายน 2567      ทั้งนี้ กิจกรรมฝึกปฏิบัติและเสริมประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ดังกล่าว มีนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี รหัส 65 และหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง รหัส 66 สาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ เข้าร่วม จำนวน 90 คน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และอาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ เข้าร่วมตลอดจนควบคุมดูแลการดำเนินกิจกรรมในโครงการ      อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว นักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง อาทิธนาคารปูม้า การทำเค้กปูม้า การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านทางการประมง การเลี้ยงหอยแมลงภู่ เรียนรู้ระบบนิเวศน์ชายฝั่ง สปาทราย สตาฟสัตว์น้ำ เรียนรู้ระบบการเลี้ยงกุ้ง ระบบการอนุบาล การเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย และการเพาะเลี้ยงเพรียงทราย จากคณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปราชญ์ประมงพื้นบ้าน นักวิชาการจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน (ฟาร์มทดลองละแม) และนักวิชาการจากเพียงทรายฟาร์ม
23 เมษายน 2567     |      150
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)  4 สาขาวิชา สมัครออนไลน์ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี) เรียนปกติ   1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง       •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า       •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00       •ประเภทวิชาประมง เกษตรกรรม สัตวศาสตร์ สัตวรักษ์ เท่านั้น   2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์     •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า     •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00     •ประเภทวิชาเกษตรกรรม พืชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เท่านั้นหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี ) เรียนปกติ /เรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์    1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เรียนปกติ หรือเรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ คหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    2.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เรียนออนไลน์ เสาร์-อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาบริหาร การจัดการ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    สมัครออนไลน์ : www.admissions.mju.ac.th    สอบถามเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา : 080 535 9909
19 เมษายน 2567     |      422
สวัสดีปีใหม่ไทย ๒๕๖๗
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย และเล่นน้ำสงกรานต์ตามประเพณี      สงกรานต์สุขใจ “ดื่มไม่ขับ ง่วงจอดพัก เล่นสาดน้ำด้วยความระวัง”      ประวัติวันสงกรานต์ หรือ วันมหาสงกรานต์ ได้รับอิทธิพลมาจาก “เทศกาลโฮลี” ของประเทศอินเดีย แต่วันสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนจากการสาดสี เป็นการสาดน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนในเดือนเมษายน และในอีกแง่หนึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ดังนั้น การเล่นสาดน้ำและประแป้งกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะไม่ถือโทษโกรธกัน       คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า “การเคลื่อนย้าย” โดยเชื่อว่าในวันสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนย้ายของจักรราศี อีกนัยหนึ่งก็คือการเคลื่อนสู่ปีใหม่ คนไทยจึงยึดถือวันสงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย” มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ การละเล่นสงกรานต์ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว รวมถึงบางพื้นที่ของเวียดนาม จีน ศรีลังกา และอินเดีย       กิจกรรมช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ นิยมทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำ ประแป้ง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ คนทำงานต่างจังหวัดหรือไกลครอบครัว ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อฉลองวันปีใหม่ไทย รวมถึงกล่าวคำอวยพร “สุขสันต์วันสงกรานต์” และ “สวัสดีวันสงกรานต์” ให้แก่กัน นอกจากนี้ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับจัดงานเทศกาลสงกรานต์ ก็สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้วันสงกรานต์ของไทยมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก       อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา      ทั้งนี้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” (Khon, masked dance drama in Thailand) ในปี 2561, “นวดไทย” (Nuad Thai, Traditional Thai Massage) ในปี 2562 และ “โนรา” ของภาคใต้ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) ในปี 2564
13 เมษายน 2567     |      575