มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

      วันที่ 28 มกราคม 2566 เวลา 08.30 น. อาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คาวบอยเกมส์ ครั้งที่ 20) “น้ำใจไมตรี สามัคคี และมิตรภาพ” โดยมีวงโยธวาทิต จากโรงเรียนสวนศรีวิทยา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร นำขบวนพาเหรดนักกีฬาเข้าสู่สนาม และนางสาวศุจินธร รัตนิพนธ์ นักวิชาการศึกษา กล่าวรายงานการจัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

      พร้อมกันนี้คณบดีได้ให้โอวาทแก่นักกีฬา ใจความว่า “การเล่นกีฬา ไม่เพียงแต่ได้สุขภาพที่ดี สนุกสนาน หรือออกกำลังกาย เพียงอย่างเดียว แต่การเล่นกีฬานั้นจะสามารถช่วยพัฒนาได้ในหลากหลายด้าน ดังนี้ 1.ด้านสุขภาพกาย การออกกำลังกายสามารถช่วยปรับสภาพความสมดุลให้ทำงานปกติ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย 2.ด้านสุขภาพใจ การเล่นกีฬาทำให้รู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเองมากขึ้น รู้จักแพ้ รู้จักชนะ นำไปสู่การพัฒนาทางด้านจิตใจ เรียนรู้ทางอารมณ์ รู้จักเคารพ ให้เกียรติตนเองและผู้อื่น และ 3.ด้านสังคม ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หลีกเลี่ยงอบายมุขสิ่งเสพติด ตลอดจนช่วยเสริมสร้างวินัย และฝึกความเป็นน้ำใจนักกีฬา”

      อย่างไรก็ตาม การแข่งขันกีฬาการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในครั้งนี้ แบ่งสีการแข่งขันสามสี คือ สีขาว (นางพญาหงส์ขาว) สีเขียว (กัญชลี) และสีเหลือง (สุพรรณิการ์)  มีการแข่งขันกีฬาสากลหลายประเภท อาทิ แบดมินตัน วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ เปตอง โดยจัดการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 25-28 มกราคม 2565 นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน อาทิ วิ่งกระสอบ วิ่งสามขา กินวิบาก     บรรยากาศเป็นไปความสนุกสนาน ความรักความสามัคคี ความมีน้ำใจนักกีฬา “รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นนักกีฬา ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาแต่ละสาขา อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป 

       ภาพ : ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ / สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

 

ปรับปรุงข้อมูล : 30/1/2566 16:18:58     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 311

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3
      วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงานต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจากนายนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม  และได้รับเกียรติจากนายมรกต วัชรมุสิก วิทยากร อพ.สธ.สวนจิตรลดา และคณะวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช      ทั้งนี้มีหน่วยงานองค์การปกครองท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง ได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 68 คน
26 มีนาคม 2567     |      111
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน”
      วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน ณ อาคารคาวบอย 3 พร้อมกับให้โอวาทแก่นักศึกษา และขับร้องเพลง “เธอผู้เป็นดั่งเช่นความหวัง” สร้างขวัญและกำลังใจให้นักศึกษาในการก้าวออกไปสู่โลกของการทำงาน พร้อมกันนี้ คณาจารย์และบุคลากรได้ร่วมกันผูกข้อมือแสดงความยินดีแก่นักศึกษา และอวยพรให้นักศึกษาทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าจะทำงานหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น      นอกจากนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ยังได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน”      ส่วนในช่วงบ่ายวันเดียวกัน มีการบรรยายในหัวข้อ “การเขียน Resume อย่างไรให้ได้งาน เทคนิคการแต่งกายและการสัมภาษณ์งาน โดยอาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา      ต่อด้วยการเสวนา “พร้อมไหม จบไปแล้วทำงาน หรือศึกษาต่อ” โดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่มาถ่ายทอดประสบการณ์การใช้ชีวิต จัดการการทางด้านการเงิน การวางแผนชีวิต ทั้งด้านการทำงาน และศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ      และปิดท้ายกิจกรรม ด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจ “ว่าที่บัณฑิตใหม่ เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยดร.ณรงค์ โยธิน      กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2567 จัดขึ้นโดยงานกิจการนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะจบการศึกษา ได้รับทราบแนวทาง การปฎิบัติ การวางแผนชีวิต เพื่อก้าวไปสู่โลกการทำงานได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งให้นักศึกษาได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ ความรัก ความผูกพันระหว่างเพื่อนและสถาบัน
26 มีนาคม 2567     |      418
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร “การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุม มีผู้บริหาร คณะครู โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรเข้าร่วมกว่า 120 คน      พร้อมกันนี้ นายชาญณรงค์ ปานเลิศ รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร นายเสรี พรหมฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และนางศรีแพ ไกยเทียม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ได้กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมประชุม      โดยช่วงเช้า ผู้เข้าประชุม รับฟังการบรรยาย “การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยนายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และรับฟังการบรรยาย “ภาพรวมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน” โดยทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชและในช่วงบ่าย ผู้เข้าประชุมได้แบ่งกลุ่มและปฎิบัติการกลุ่ม 4 ฐานการเรียนรู้ ดังนี้ฐานการเรียนรู้ที่ 1 :การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฐานการเรียนรู้ที่ 2 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 3 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 4 : องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน      อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมประชุมกลุ่มในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมส่งเสริมสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตรงตามปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาตน องค์กร สังคม ประเทศชาติต่อไป
20 มีนาคม 2567     |      616